ดาวเทียม THEOS-2 มีกำหนดส่งในวันที่ 7 ตุลาคม เวลาเมืองไทยประมาณ 08:36 น (01:36 UTC/ 22:36 Kourou ) ด้วยจรวดนำส่ง VEGA จากฐานนำส่ง Guinea Space Center (อยู่ที่ Latitude 3 องศาเหนือเส้นศูนย์สูตร) ที่เมือง French Guinea ทวีปอเมริกาใต้ โดยฐานนำส่งดังกล่าว เป็นฐานนำส่งของบริษัท Arianespace
การนำส่งครั้งนี้ นับเป็นการนำส่งครั้งที่ 23 ของจรวดนำส่ง VEGA โดยมีดาวเทียม THEOS-2 เป็น Primary Payload, ดาวเทียม Formosat-7R เป็น Secondary Payload และมี Auxiliary Payload ซึ่งประกอบด้วยดาวเทียมขนาดไม่เกิน 100 กิโลกรัม อีก 10 ดวง
การจุดจรวดจะเกิดขึ้นในเวลาเมืองไทยประมาณ 08:36 น วันที่ 5 ตุลาคม แนวการส่งจะเป็นการส่งขึ้นเหนือ เนื่องจากการส่งไปยังวงโคจรของ THEOS-2 ซึ่งเป็น Polar Orbit จะต้องส่งขึ้นเหนือหรือลงใต้ แต่ฐานนำส่ง Guinea Space Center อยู่ทางตอนเหนือของประเทศบราซิลจึงไม่สามารถให้จรวดวิ่งลงใต้ผ่านประเทศบราซิล ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย
ในการส่งดาวเทียม จรวดนำส่งจะต้องถูกส่งขึ้นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการโคจรของดาวเทียม เนื่องจากดาวเทียม THEOS-2 โคจรจากขั้วโลกใต้ขึ้นไปสู่ขั้วโลกเหนือในเวลากลางคืน การส่งจรวดจึงต้องส่งในเวลากลางคืน (เวลาท้องถิ่นที่ฐานนำส่ง)
ภายใน 7 นาทีหลังการจุดจรวด จรวดท่อนเชื้อเพลิงท่อนที่ 1,2 และ 3 จะถูกใช้หมดและถูกปลดออกจากจรวดท่อนหลัก ในส่วนหัวจรวด แฟริ่งทั้ง 2 ชิ้นจะถูกแยกออกเช่นกัน จรวดนำส่งท่อนที่ 1,2 และแฟริ่ง จะตกกลับลงมาที่โลก บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก และจรวดท่อนที่ 3 บริเวณมหาสมุทรอาร์กติก สำหรับจรวดท่อนหลักในส่วนที่เหลือประกอบด้วย Upper Stage , Payload Adapter และ Payload ทั้ง 12 ดวง
จรวดนำส่ง VEGA จะโคจรผ่านขั้วโลกเหนือ และปล่อยดาวเทียม THEOS-2 ในเวลาเมืองไทยประมาณ 09:31 น. ที่ตำแหน่งต่ำกว่าเส้นศุนย์สูตรเล็กน้อย โดยจะเป็นการปล่อยที่ความสูง 600 km. (ต่ำกว่าวงโคจรของ THEOS-2 ที่ 621 km) ทั้งนี้จรวดจะปล่อยดาวเทียม THEOS-2 ออกพร้อมกับดาวเทียม Formosat-7R จากนั้นจรวดจะโคจรไปยังวงโคจรที่ต่ำลง เพื่อปล่อยดาวเทียม Auxiliary Payload ทั้ง 10 ตัวที่เหลือออก
ในส่วนของดาวเทียม THEOS-2 หลังจากระบบบนดาวเทียมตรวจจับการแยกตัวจากจรวดแล้ว ระบบคอมพิวเตอร์บนดาวเทียมจะสั่งให้ดาวเทียมกางแผง Solar Array ทั้ง 2 แผงออก และระบบควมคุมการทรงตัวจะทำการลดความเร็วการหมุนตัว (tumbling rate) ของดาวเทียม ซึ่งเป็นการหมุนที่เกิดจากแรงระหว่างการแยกตัว (การแยกตัวทำด้วยระบบสปริง 6 ชุด) ในส่วนนี้เรียกว่าการทำ De-Tumbling หลังจากลดระดับลงมาจนถึงค่าที่กำหนด ดาวเทียมจะเริ่มทำ Sun Acquisition หรือการหันแผง Solar Array ไปหาดวงอาทิตย์ เพื่อชาร์จแบตเตอรี่
ทั้งนี้ดาวเทียมจะอยู่ใน SAFE Mode และจะเปิดเฉพาะอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการทำงานพื้นฐานของดาวเทียม รอคำสั่งจากภาคพื้นดินต่อไป โดยดาวเทียมจะโคจรผ่านสถานีภาคพื้นดินที่ศรีราชาครั้งแรก ในเวลาท้องถิ่น 10:53 น. โดยประมาณ
กิจกรรม Launch and Early Operation Phase (LEOP) และ In-Orbit Test (IOT)
LEOP (Launch and Early Operational Phase) คือกิจกรรม Operation ทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ก่อนการนำส่งไม่กี่ชั่วโมง และสิ้นสุดเมื่อดาวเทียมอยู่ที่ Operational Orbit
• การตรวจสอบและยืนยันความพร้อมของระบบภาคพื้นดิน และดาวเทียม เพื่อยืนยัน Go/No Go สำหรับการนำส่ง
• การยืนยันการแยกตัวจากจรวดนำส่ง
• การติดต่อกับดาวเทียมครั้งแรก
• การยืนยันสถานะการกางแผง Solar Array, สถานะการ De-tumbling และอื่นๆ
• การส่งคำสั่งเพื่อเปิดอุปกรณ์และปรับ mode ดาวเทียมออกจาก SAFE Mode
• การตรวจสอบการทำงานของระบบต่างๆ (AOCS, Power, Thermal, RF)
• การส่งคำสั่งเพื่อปรับทำ Thruster Calibration และปรับวงโคจร
• การเปิดอุปกรณ์ Payload และปรับดาวเทียมเข้าสู่ Operation Mode
• การถ่ายภาพแรก เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์ Payload (Instrument + X-Band Transmitter)
• ในกรณีปกติ กิจกรรม LEOP ของ THEOS-2 ใช้เวลา 5-10 วัน ขึ้นกับการปรับวงโคจรจาก Injectionไปสู่ Operational Orbit
การซ้อมการทำ LEOP ที่สภานีควบคุมภาคพื้นดินศรีราชา โดยเจ้าหน้าที่บริษัท AIRBUS IOT (In-Orbit Testing) เป็นกิจกรรมที่ทำต่อจาก LEOP มีวัตถุประสงค์เพื่อ
• ทดสอบระบบการทำงานของดาวเทียม ตามที่ออกแบบไว้ เปรียบเทียบค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เทียบกับค่าที่คำนวณหรือทำนายไว้จากการออกแบบ และปรับแก้หากจำเป็น
• ทดสอบประสิทธิภาพของระบบทั้งในส่วนของดาวเทียมและระบบภาคพื้นดิน เช่นเวลาในการหมุนตัวถ่ายภาพ, การส่งข้อมูลภาพลงมาที่ระบบรับสัญญาณ, จำนวนข้อมูลภาพที่รับสัญญาณและจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ในแต่ละวัน เป็นต้น
• การปรับแก้ค่าพารามิเตอร์ของอุปกรณ์ถ่ายภาพ เช่น ความคมชัด และค่าสัญญาณรบกวน
คุณสมบัติของดาวเทียม THEOS-2
ดาวเทียม THEOS-2 จัดอยู่ในกลุ่ม “ดาวเทียมสำรวจโลกที่ถ่ายภาพ แบบรายละเอียดสูง” โดยสามารถถ่ายภาพวัตถุที่มี ขนาดใหญ่กว่า 50x50 เซนติเมตรบนพื้นโลกได้
ปัจจุบัน การประกอบและทดสอบดาวเทียม รวมไปถึงระบบ ภาคพื้นดินที่เกี่ยวข้องกับ THEOS-2 ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นทั้งหมดแล้ว ซึ่งขณะนี้ดาวเทียม THEOS-2 ได้ถูกขนย้ายไปอยู่ที่ French Guiana เพื่อเติมเชื้อเพลิงและรอติดตั้งบนฐานปล่อย เพื่อเตรียมส่งดาวเทียมต่อไป
ดาวเทียม THEOS-2 จะช่วยเปิดโอกาสการพัฒนาระบบผลิตภาพถ่ายและบริการภูมิสารสนเทศ การปรับปรุง โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม และบริการด้านเทคโนโลยี อวกาศ ซึ่งจะทำให้เกิดความต่อเนื่องจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในประเทศ และเป็นการ สานต่อภารกิจดาวเทียมไทยโชตที่ใกล้จะหมดวาระการใช้งานเร็วๆ นี้
คุณสมบัติเบื้องต้นของดาวเทียม THEOS-2
• วงโคจรแบบสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun Synchronous Orbit)
• โคจรในระดับความสูง 621 กิโลเมตร รอบการโคจร 26 วัน
• เข้าถึงพื้นที่ได้ทั่วโลก
• ความละเอียดภาพ ภาพสี 2 เมตร / ภาพขาวดำ 50 เซนติเมตร
• สามารถผลิตภาพสีรายละเอียดสูง 50 เซนติเมตร (Pan Sharpening)
• ระยะเวลาถ่ายภาพซ้ำที่เดิมใน 4 วัน ที่มุมเอียง 45 องศา
• ความกว้างการถ่ายภาพ 10.3 กิโลเมตร
• สามารถถ่ายภาพและส่งข้อมูลลงมาที่สถานีภาคพื้นดินได้ไม่ต่ำกว่า 74,000 ตารางกิโลเมตร/วัน
• หน่วยความจำ 1 Tera Bits
• น้ำหนัก 425 กิโลกรัม อายุการใช้งานขั้นต่ำ 10 ปี
• แผนการนำส่งขึ้นสู่วงโคจรในช่วงปลายปี 2566 ด้วยจรวดนำส่ง VEGA ที่ฐานนำส่ง Guiana Space Center เมือง Kourou รัฐ French Guiana ทวีปอเมริกาใต้
ที่มา : gistda.or.th