“สะพานเชื่อมระบบนิเวศน์”แห่งแรกในไทย ที่ถนนสายระยอง – จันทบุรี

     การสร้างถนน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการสร้างความเจริญให้แก่พื้นที่ และประชาชน แต่ในอีกมุม หากเป็นการสร้างในพื้นที่ป่า อาจเป็นการคุกคามต่อสัตว์ป่า และระบบนิเวศน์ได้  

     “สะพานเชื่อมระบบนิเวศน์” แห่งแรกในประเทศไทย จึงเกิดขึ้นบนถนนทางหลวงชนบทสาย รย.4060 อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง และอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี  เพื่อความปลอดภัยในการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า และเพิ่มศักยภาพในการเดินทางให้กับประชาชน รวมถึงขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภายในประเทศอย่างยั่งยืน  ใช้งบประมาณก่อสร้างรวม 587.516 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2568

     วัตถุประสงค์ของสะพานแห่งนี้ เป็นการเชื่อมระบบนิเวศน์ระหว่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน และอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา - เขาวง  จากเดิมที่เป็นถนนคั่นกลาง ให้กลายเป็นสะพานที่รถยนต์สามารถสัญจรไปมาได้ ในขณะเดียวกัน สัตว์ป่าก็สามารถที่จะเดินสัญจรไปมาได้ โดยการลอดใต้สะพาน ซึ่งจะช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับสัตว์ป่านาชนิด 

     “สะพานเชื่อมระบบนิเวศน์” ทั้ง 2 จุด มีความกว้าง 11 เมตร มีความยาว 630 เมตร และ 420 เมตร รองรับการจราจร 2 ช่องทาง (ไป - กลับ) และบนสะพานมีพื้นที่สำหรับจอดรถ เพื่อให้เจ้าหน้าที่และประชาชนที่สนใจ สามารถศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ที่เดินผ่านไปมา เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และช่วยส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของคน พืช และสัตว์ป่า อย่างยั่งยืน  

แหล่งที่มา :สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล 
เลขที่ 1 ถนนนครปฐม เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
เบอร์ติดต่อ : 0 2280 9000

ข้อมูลเพิ่มเติม1
ข้อมูลเพิ่มเติม2
ข้อมูลเพิ่มเติม3


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,254,954