ประเทศไทยมีจำนวนประชากรเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของที่อยู่อาศัย และการขยายตัวของแหล่งชุมชน และเขตเมืองอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงเฉพาะในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ แต่เกิดการกระจายตัวของชุมชนในทุกภูมิภาค ทำให้พื้นที่ต่าง ๆ มีการเจริญเติบโต ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การค้าและการขนส่ง ส่งผลให้โครงข่ายถนนกว่า 53,000 กิโลเมตร ทั่วประเทศ ต้องรองรับการปริมาณการจราจรที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งบางเส้นทางไม่สามารถขยายถนนเพิ่มช่องจราจรได้ ทำให้เกิดปัญหารถติดในพื้นที่เขตเมือง
พัฒนาโครงข่ายทางเลี่ยงเมืองในพื้นที่ชุมชน และเขตเมืองหลัก ๆ ของประเทศ จึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร ในเขตเมืองของภูมิภาค เพิ่มความสะดวก - คล่องตัวในการเดินทาง
หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่โครงการที่เหมาะสม และมีศักยภาพ ในการพัฒนาเป็นโครงข่ายทางเลี่ยงเมือง รวมทั้งศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และจัดทำแผนพัฒนาทางเลี่ยงเมืองเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
ขอบเขตการศึกษาแผนพัฒนาทางเลี่ยงเมือง ประกอบด้วย
กรมทางหลวง กำหนดให้มีการประชาสัมพันธ์โครงการ และการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างทั่วถึง และครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่โครงการที่ได้รับคัดเลือก เพื่อให้หน่วยงานราชการและประชาชนในพื้นที่ ได้รับทราบข้อมูลและแสดงความคิดเห็นข้อเสนอแนะต่อโครงการ
ศึกษาจัดทำแผนพัฒนาทางเลี่ยงเมือง เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณเขตเมืองในภูมิภาค คาดศึกษาแล้วเสร็จเดือนมีนาคม 2567 สำหรับประชาชนผู้ที่สนใจ สามารถติดตามความเคลื่อนไหวหรือสอบถามข้อมูลข่าวสารของโครงการเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.doh-bypass.com
แหล่งที่มา : สำนักงานเลขานุการ กรมทางหลวง
เลขที่ 2/486 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
เบอร์ติดต่อ : 0 235 6668
facebook : แผนพัฒนาทางเลี่ยงเมืองกรมทางหลวง
Line official : doh-bypass (@021rouzs)
ข้อมูลเพิ่มเติม