การปฏิบัติตนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว - สึนามิ
ประเทศไทย แม้ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวได้บ่อยครั้ง แต่ถือเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ดังนั้นจึงควรเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยาได้มีข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว แนะนำดังนี้
- อย่าตกใจ และต้องมีสติ
หากอยู่ในอาคาร
- มุดใต้โต๊ะ เก้าอี้ พิงผนังด้านใน แล้วอยู่นิ่ง ๆ ถ้าไม่มี โต๊ะ ใช้แขนปิดหน้า ปิดศีรษะ หมอบตรงมุมห้อง อยู่ให้ห่างกระจก หน้าต่าง และเลี่ยงบริเวณที่สิ่งของหล่นใส่ หรือล้มทับ เช่น โคมไฟ ตู้ ถ้ายังนอนอยู่ ให้อยู่บนเตียง ใช้หมอนปิดบังศีรษะ ในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใกล้รอยเลื่อนมีพลัง
หลีกเลี่ยงบริเวณที่สิ่งของหล่นใส่ อยู่บริเวณที่ปลอดภัย
- ใช้ช่องประตูเป็นที่หลบภัย ถ้าอยู่ใกล้อยู่ชิดผนังด้านในอาคาร
- ให้อยู่ในอาคารจนกว่าการสั่นสะเทือนหยุด จึงออกไปภายนอกบริเวณที่ปลอดภัย อันตรายส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งของหล่นใส่
- ไฟฟ้าอาจดับ หรือสปริงเกอร์อาจทำงาน หรือมีเสียงเตือนไฟไหม้
- อย่าใช้ลิฟต์ขณะมีการสั่นไหว ถ้าอยู่ในลิฟต์กดทุกปุ่ม และออกจากลิฟต์ทันที
- อย่ากรูกันวิ่งออกนอกอาคาร
- เมื่อการสั่นไหวหยุดแล้ว ถ้าเกิดไฟไหม้ช่วงแรก ให้รีบดับไฟ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายของอาคาร หากปลอดภัยสามารถกลับเข้าในอาคารได้
- หากเป็นแผ่นดินไหวใหญ่อาจเกิดแผ่นดินไหวตามมา After Shock
หากอยู่นอกอาคาร
- ให้ออกด้านนอก อยู่ให้ห่างจากอาคาร เสาไฟ สายไฟฟ้า ต้นไม้ ป้ายโฆษณา หรือสิ่งของที่อาจหล่นใส่
หากอยู่ในรถ
- จอดรถเมื่อสามารถจอดได้โดยปลอดภัย และในที่ไม่มีของหล่นใส่ อยู่ให้ห่างอาคาร ต้นไม้ ทางด่วนสะพานลอย เชิงเขา เป็นต้น
หากติดอยู่ในซากอาคาร
- อย่าติดไฟ อยู่อย่างสงบ ใช้ผ้าปิดหน้า เคาะท่อ ฝาผนัง เพื่อเป็นสัญญาณต่อหน่วยช่วยชีวิต ใช้นกหวีด การตะโกนอาจสูดสิ่งอันตรายเข้าร่างกายช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และให้กำลังใจต่อกัน
หลังแผ่นดินไหว
- เตรียมรับมือ Aftershocks ซึ่งทั่วไปมีความรุนแรงน้อยกว่า แต่ก็อาจสร้างความเสียหายเพิ่มเติม เปิดวิทยุโทรทัศน์ฟังข่าวเพิ่มเติม
- เปิดตู้ด้วยความระมัดระวัง ระวังสารเคมีที่ตกหล่น และสายไฟฟ้าชำรุด
- หลีกเลี่ยงบริเวณสิ่งก่อสร้างที่เสียหาย หรือพังทลายยกเว้นได้รับการร้องขอจากเจ้าหน้าที่
- แจ้งเจ้าหน้าที่ ถึงจำนวนและตำแหน่งที่มีผู้ติดอยู่ในอาคาร หากทราบ
- หากอยู่ชายฝั่งใกล้ปากแม่น้ำให้รีบขึ้นที่สูง บริเวณที่ปลอดภัยโดยเฉพาะบริเวณที่เคยมีประวัติการเกิดอันตรายจากสึนามิ'
ข้อควรจำ
เมื่อเกิดคลื่นสึนามิจะไม่เกิดเพียงระลอกเดียว จะเกิดขึ้นได้หลายระลอกคลื่น และคลื่นลูกหลังอาจใหญ่กว่าคลื่นลูกแรก เมื่อน้ำทะเลลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วผิดปกติให้คาดว่าอาจเกิดสึนามิ สึนามิมักเกิดหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในทะเล หากอยู่บริเวณชายฝั่งจะเป็นอันตราย
ที่มา : กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา 4353 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทร. 0 2399 0975
ข้อมูลเพิ่มเติม