ถอดบทเรียน SMEs พัฒนา Eco-Packaging คว้าโอกาส เติบโตทางธุรกิจยุครักษ์โลก

      การร่วมกันลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยเทรนด์รักษ์โลกที่ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นทำให้สินค้า
หรือผลิตภัณฑ์รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Eco-Packaging ได้รับความนิยมมากขึ้น ประกอบกับเทรนด์การสร้าง
เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่กลายเป็นกติกาสากลที่ทั่วโลก เกิดความตื่นตัวในการร่วมกันลดปัญหาก๊าซเรือนกระจกและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม จึงทำให้เกิดการปรับตัวขนานใหญ่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

      โดยในประเทศไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสถาบันจัดการบรรจุภัณฑ์ และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม ร่วมดำเนินการส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรม 
ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบไปจนถึงระยะสิ้นสุดของการใช้บรรจุภัณฑ์ นำร่องใน 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ 

- อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์การพิมพ์ 

- อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัสดุบรรจุภัณฑ์

- อุตสาหกรรม S-Curve อาทิ อุตสาหกรรมเกษตร และเทคโนโลยี ชีวภาพ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร 

- อุตสาหกรรม New S-Curve เช่น ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และเวชภัณฑ์ยาสมุนไพร เป็นต้น 

      สำหรับกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์รักษ์โลก อาทิ ผลิตภัณฑ์ขนม มีการเปลี่ยนจากถุงฟอยล์ติดฉลากด้วยสติกเกอร์ ก็เปลี่ยนเป็น
ถุง PET Lamimate Aul ติดซิปฟอยด์และพิมพ์ฉลากบนถุงแทน และใช้หมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น Soy Base หรือ Water Base
หรือ Eco Solvent Ink เป็นต้น ซึ่งจากการปรับผลิตภัณฑ์ยังทำให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย 

      สอดคล้องกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศที่มีการขยายตลาดบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ตลาดจีน (ปี 2565) พบว่าการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจำกัดการใช้พลาสติกในจีนที่ระบุชัดเจนว่าในซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาดสด ไม่ให้ถุงพลาสติกฟรี และเมื่อปี 2564 มีคำสั่งห้ามใช้พลาสติกที่เข้มงวดที่สุดจากแรงกดดันดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการอาหาร และเครื่องดื่มเริ่มใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งคาดว่าปี 2568 ความต้อง การพลาสติกที่ย่อยสลายได้ของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจะสูงถึงเกือบ 2.10 ล้านตัน โดยพลาสติกที่ย่อยสลายได้มีราคาเฉลี่ย 25,000 หยวนต่อตัน หรือประมาณ 132,500 บาทต่อตัน (อัตราแลกเปลี่ยน 1 หยวน เท่ากับ 5.3 บาท) สะท้อนให้เห็นว่าความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 52,500 ล้านหยวน หรือ 278,250 ล้านบาท 

      จากผลการปรับตัวพัฒนา Eco-Packaging นี้ทำให้ผู้ประกอบการไทย และต่างชาติ ทั้งที่พัฒนาและกำลังจะเริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่มีบรรจุภัณฑ์
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอาจมีช่องทางส่งสินค้าไปจำหน่ายได้มากขึ้น นอกจากผลด้านบวกอื่นที่เกิดขึ้นในช่วงการผลิต ซึ่งมีต้นทุนลดลงในระยะยาวและ
มีภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรอีกด้วย

ที่มา: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

เบอร์โทรศัพท์: +66 2345-1000


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,246,019