ฉลากเขียวสร้างโอกาสในธุรกิจของนักลงทุนต่างชาติอย่างไร

      สำหรับประเทศไทยนับเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ร่วมกับประชาคมโลก ประกาศเจตนารมย์ร่วมกำจัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 - 2 องศาเซลเซียสให้ได้ภายใน ค.ศ. 2100 (พ.ศ. 2643) โดยเมื่อการร่วมเวทีประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 หรือ COP 27 ณ เมืองชาร์ม เอล เชค สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์เมื่อปลายปีที่แล้ว (3 - 18 พ.ย. 2565) 

      นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย แสดงจุดยืนของประเทศมุ่งปรับปรุงยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทยโดยตั้งเป้าหมายลดคาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณก๊าซเรือนกระจก จาก Maximum ของเรา 388 ล้านตันต่อปี ลงไปเหลือ 120 ล้านตันต่อปีให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 ในทุกสาขา

      จากผลนี้เมื่อพิจารณาความคืบหน้านโยบายในการส่งเสริมแก้ปัญหาโลกร้อนของไทย จะพบว่า มีหลากหลายมาตรการลดภาวะโลกร้อน หนึ่งในนี้ คือ โครงการฉลากเขียว เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตในประเทศ และต่างประเทศให้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยังกระตุ้นให้ผู้ผลิตรายอื่นเร่งปรับให้เท่าทันกับการะแสโลกที่เปลี่ยนไป ตลอดจนช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อธุรกิจที่ปรับตัวให้เท่าทันและได้รับผลตอบแทนระยะยาว 

      ทั้งนี้ หากบุคคลหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่เป็นผู้ผลิต นําเข้า จัดจําหน่ายสินค้า ประสงค์จะขอรับอนุญาตใช้เครื่องหมายฉลากเขียว สามารถติดต่อสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ ดูรายละเอียดผ่าน เว็บไซต์ www.tei.or.th  หากมีคุณสมบัติครบถ้วนจะได้ใช้เครื่องหมายฉลากเขียวตามโปรแกรมที่เลือกคือ 1 ปี หรือ 3 ปี ซึ่งนับเป็นอีกทางเลือกที่ดีในการลงทุนวันนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้จากสินค้าที่เราผลิตขึ้น

ที่มา : มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (ม.ส.ท.)
เบอร์โทรศัพท์ : +66 2 503 3333


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,249,752