หลักเกณฑ์ในการพิจารณาจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์

     การประดิษฐ์ หมายถึง การคิดค้นหรือคิดทำขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใหม่ ๆ โดยการประดิษฐ์จะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างภายใน หรือที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากรูปร่างภายนอก และจะรวมไปถึงส่วนผสมทางเคมีของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

     การจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีวัตถุประสงค์เพื่อให้กฎหมายปกป้องคุ้มครองการประดิษฐ์ที่มีการใช้งานหรือมีประโยชน์ใช้สอย ป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นนำผลงานการประดิษฐ์ไปใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยการประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรจะต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ 

     1. เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ 
     2. เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น 
     3. เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม 
     4. การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตรฯ นี้ 
          1) จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์ หรือพืช 
          2) กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 
          3) ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ 
          4) วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์ 
          5) การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี อนามัย หรือสวัสดิภาพของประชาชน


ข้อมูล ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2566 
ที่มา : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล 
เบอร์ติดต่อ : 0 2612 6060


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,244,500