การหักค่าใช้จ่ายคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

การหักค่าใช้จ่ายคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

     ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายกำหนดให้เงินได้แต่ละประเภท สามารถหักค่าใช้จ่าย (ต้นทุนในการทำงาน) ออกก่อน แล้วจึงนำเงินได้ที่หักค่าใช้จ่ายแล้วทั้งหมดไปหักลดหย่อน เพื่อให้ได้เงินได้ หรือรายได้สุทธินั้นมาคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษี 

     “ค่าใช้จ่าย” จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคำนวณภาษี ถือเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งผู้มีเงินได้สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ

แบบที่ 1. การหักค่าใช้จ่ายเหมา กำหนดไว้เป็นอัตราร้อยละตามที่กฎหมายกำหนด

แบบที่ 2. การหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร

  1. เงินได้พึงประเมินที่จะนำมาใช้ในการคำนวณภาษีแบ่งออกเป็น 8 ประเภท (มาตรา 40 (1) - (8)) โดยอัตราการหักค่าใช้จ่ายมากหรือน้อยจะแตกต่างกันตามแต่ละประเภทของเงินได้ สรุปได้ดังนี้
  2. เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง ฯลฯ  หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท เงินได้จากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ฯลฯหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท (หากมีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภทรวมกันแต่หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท)
  3. ค่าแห่งความนิยม (Goodwill) ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หรือตามจริง
  4. ดอกเบี้ย เงินปันผล ส่วนแบ่งกำไร ฯลฯ จะนำมาหักค่าใช้จ่ายไม่ได้
  5. รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน จะหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง หรืออัตราเหมา
  • บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง แพ หักค่าใช้จ่ายได้ 30% 
  • ที่ดินที่ใช้ในการเกษตร หักค่าใช้จ่ายได้ 20%
  • ที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตร หักค่าใช้จ่ายได้ 15% 
  • ยานพาหนะ หักค่าใช้จ่ายได้ 30% 
  • ทรัพย์สินอื่น หักค่าใช้จ่ายได้ 10%

     การผิดสัญญาเช่าซื้อ การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ 20% วิธีเดียว

     6. วิชาชีพอิสระ หักค่าใช้จ่ายได้ตามจริงหรืออัตราเหมา

  • ประกอบโรคศิลปะ รับเหมาก่อสร้าง60%
  • กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม หักค่าใช้จ่ายได้ 30%

     7. รับเหมาก่อสร้าง หักค่าใช้จ่ายได้ตามจริงหรืออัตราเหมา 60%

     8. รายได้อื่น นอกเหนือจาก 1 - 7 ตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 629) พ.ศ.2560 หักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง หรืออัตราเหมา 40% และ 60%

 

ข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2563

แหล่งที่มา : กรมสรรพากร 90 ซอยพหลโยธิน 7 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

เบอร์ติดต่อ : 0 2272 8000

 

ข้อมูลเพิ่มเติม 1

ข้อมูลเพิ่มเติม 2

 

 

 


ความคิดเห็น


ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,250,083