ผู้มีเงินได้ทุกคน มีหน้าที่ต้องยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้ โดยกรมสรรพากร ได้กำหนดเกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี
อัตราภาษีอากร คือ ร้อยละที่จัดเก็บภาษี จะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ แบบคงที่ แบบก้าวหน้า และแบบถดถอย โดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของฐานภาษี ขึ้นอยู่กับกฎหมายกำหนดไว้
ปัจจุบันอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นอัตราภาษีแบบก้าวหน้า คือ ฐานภาษีเพิ่มขึ้น อัตราภาษีก็จะเพิ่มขึ้น โดยประเทศไทยได้มีการปรับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ดังนี้
เงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 1 - 150,000 บาท เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น 150,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษี
เงินได้สุทธิ 150,001 - 300,000 บาท เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น 150,000 บาท อัตราภาษี ร้อยละ 5 ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้ 7,500 บาท ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น 7,500 บาท
เงินได้สุทธิ 300,001 - 500,000 บาท เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น 200,000 บาท อัตราภาษี ร้อยละ 10 ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้ 20,000 บาท ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น 27,500 บาท
เงินได้สุทธิ 500,001 - 750,000 บาท เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น 250,000 บาท อัตราภาษี ร้อยละ 15 ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้ 37,500 บาท ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น 65,000 บาท
เงินได้สุทธิ 750,001 - 1,000,000 บาท เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น 250,000 บาท อัตราภาษี ร้อยละ 20 ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้ 50,000 บาท ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น 115,000 บาท
เงินได้สุทธิ 1,000,001 - 2,000,000 บาท เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น 1,000,000 บาท อัตราภาษี ร้อยละ 25 ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้ 250,000 บาท ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น 365,000 บาท
เงินได้สุทธิ 2,000,001 - 5,000,000 บาท เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น 3,000,000 บาท อัตราภาษี ร้อยละ 30 ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้ 900,000 บาท ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น 1,265.000 บาท
เงินได้สุทธิ 5,000,001 บาท ขึ้นไป อัตราภาษี ร้อยละ 35
โดยเงินได้สุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท ยังคงได้รับยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 470) พ.ศ.2551
ข้อมูล ณ วันที่ 9 มกราคม 2564
แหล่งที่มา : กรมสรรพากร 90 ซอยพหลโยธิน 7 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
เบอร์ติดต่อ : 0 2272 8000