ประเภทใบกำกับภาษี และ การออกใบกำกับภาษี

ประเภทใบกำกับภาษี และ การออกใบกำกับภาษี

     หลายคนอาจสงสัยว่า ใบกำกับภาษีมีกี่ประเภท และมีรูปแบบแตกต่างกันอย่างไรบ้าง  กรมสรรพากร ได้ระบุข้อมูลและรายละเอียด ประเภทของใบกำกับภาษี ดังนี้

1. ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

  • ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยทั่วไป มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ ซึ่งใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปจะต้องมีรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
    • คำว่า "ใบกำกับภาษี" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
    • เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขายสินค้า หรือให้บริการ 
    • ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ขายสินค้า หรือให้บริการ 
    • ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการ 
    • หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) 
    • วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี 
    • ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณและมูลค่าของสินค้า หรือของบริการ
    • จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้า หรือของบริการ โดยให้แยกออกจาก มูลค่าของสินค้า หรือของบริการให้ชัดแจ้ง
  • การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม เพื่อออกฉบับใหม่ ให้ดำเนินการ ดังนี้ 
    • เรียกคืนใบกำกับภาษีฉบับเดิมและนำมาประทับตราว่า "ยกเลิก" หรือขีดฆ่าแล้วเก็บรวบรวมไว้กับสำเนาใบกำกับภาษีฉบับเดิม 
    • จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ ซึ่งเป็นเลขที่ใหม่ แต่จะต้องลงวัน เดือน ปี ให้ตรงกับ วัน เดือน ปี ตามใบกำกับภาษีฉบับเดิม 
    • หมายเหตุไว้ในใบกำกับภาษีฉบับใหม่ว่า "เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ แทนฉบับเดิมเลขที่… เล่มที่…." และหมายเหตุการยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือน ภาษีที่จัดทำกำ กับภาษีฉบับใหม่ 
    • ผู้ประกอบการที่ขอให้ยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม และออกฉบับใหม่ ต้องถ่ายเอกสาร ใบกำกับภาษีฉบับเดิม (ฉบับที่ขอยกเลิก) ติดเรื่องไว้ และส่งมอบใบกำกับภาษีฉบับที่ขอยกเลิกคืนให้ผู้ออกใบกำกับภาษี นำไปรวมกับสำเนาไว้เป็นหลักฐาน
    • ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ หมายเหตุการยกเลิกใบกำกับภาษี ไว้ในรายงานภาษีขายประจำเดือนที่ออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนด้วย
  • การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ดำเนินการ ดังนี้
    • ถ่ายสำเนาใบกำกับภาษี สำเนาใบเพิ่มหนี้ หรือสำเนาใบลดหนี้ และให้บันทึกลงในภาพถ่าย หรือด้านหลังของภาพถ่าย ว่า ใบแทนออกให้ครั้งที่... มี วัน เดือน ปีที่ออกใบแทน และคำอธิบายโดยย่อถึงสาเหตุที่ออกใบแทนพร้อมลงลายมือชื่อของผู้ออกใบแทน 
    • ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบแทนใบเพิ่มหนี้ ใบแทนใบลดหนี้ บันทึกรายการการออกใบแทน ในรายงานภาษีขายในเดือนที่มีการออกใบแทน โดยระบุชื่อผู้ซื้อ เลขที่ / เล่มที่ วันที่ของใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ ที่ได้มีการออกใบแทน

2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ

3. เอกสารอื่นที่ถือเป็นใบกำกับภาษี

  • ใบเพิ่มหนี้
  • ใบลดหนี้
  • ใบเสร็จรับเงิน ที่ส่วนราชการออกให้ในการขายทอดตลาด
  • ใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร กรมศุลกากร หรือกรมสรรพสามิต เฉพาะส่วนที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม

     สำหรับการออกใบกำกับภาษีด้วยกระดาษ คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า หรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บ หรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการในแต่ละครั้ง

  • กรณีการขายสินค้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี พร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในทันทีที่มีการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ
  • กรณีการให้บริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียน มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี พร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้รับบริการในทันที ที่ได้รับชำระราคาค่าบริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทำใบกำกับภาษีอย่างน้อย 2 ฉบับ ดังนี้
  • ต้นฉบับ ส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ
  • สำเนา เก็บรักษาไว้เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการลงรายงานภาษี เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ทำรายงาน 

     สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่เป็นผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการ ต้องเรียกใบกำกับภาษีจากผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่น ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้า หรือให้บริการ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และหากผลการคำนวณภาษีปรากฏว่า ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ถือเป็นเครดิตภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน มีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดจากเดือนภาษีที่คำนวณภาษีนั้น และหากในเดือนภาษีที่นำเครดิตภาษีไปชำระ ยังมีเครดิตภาษีคงเหลืออยู่อีก มีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปได้

     ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ไม่ใช้สิทธินำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ในเดือนถัดไป มีสิทธิขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี สำหรับเดือนภาษีนั้น

 

ข้อมูล ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2565

แหล่งที่มา : กรมสรรพากร 90 ซอยพหลโยธิน 7 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 

เบอร์ติดต่อ : 0 2272 8000

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

 


ความคิดเห็น


ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,247,299