หากใครได้เคยไปเที่ยวในพื้นที่ทางภาคใต้ของไทย คงจะนึกถึง "โนรา" ศิลปวัฒนธรรมชั้นสูงที่งดงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนใคร
การขึ้นทะเบียน "โนรา" (Nora, Dance Drama in Southern Thailand) เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
ประกอบกับปัจจุบันมีคณะโนราอาชีพในประเทศไทย จำนวน 387 คณะ โดย 70% กระจุกตัวอยู่มากบริเวณรอบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีการสืบทอดศิลปะทั้งด้านการแสดง ช่างฝีมือ ดนตรี และพิธีกรรม จากรุ่นสู่รุ่นผ่านสายตระกูลโนรา ชุมชน วัด และเข้าสู่หลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาทุกระดับทั่วภาคใต้
ทำให้โนราเป็นหนึ่งในเส้นทางท่องเที่ยวทะเลสาบสงขลา ทางด้านศิลปะประเพณี วัฒนธรรม ผู้คนจำนวนไม่น้อย เดินทางมาที่นี้ เพื่อศึกษาเรียนรู้ และสัมผัสกับความสวยงามลึกซึ้งของวัฒนธรรมนี้ จนสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างแรงดึงดูดในการเดินทางท่องเที่ยวชุมชน ใน BCG Model ของรัฐบาล
จุดเด่นของ โนรา เป็นศิลปะและวัฒนธรรมไทยพื้นเมืองของภาคใต้ เป็นการแสดงท้องถิ่นที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนภาคใต้มาช้านาน เป็นการแสดงที่มีแบบแผนในการร่ายรำ และขับร้องที่งดงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีดนตรีเป็นลูกคู่ เล่นรับ-ส่ง ตลอดการแสดงโนรา สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีท่ารำที่อ่อนช้อย สวยงาม บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไวมีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำ และเครื่องแต่งกาย เดิมนิยมใช้นักแสดงเป็นผู้ชายล้วน แต่ปัจจุบันมีนักแสดงหญิงเข้าไปแสดงด้วย
ที่มา: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
เบอร์โทรศัพท์: +66 2-248-8600