การท่องเที่ยวสีเขียว ก้าวต่อไปนำไทยสู่เศรษฐกิจ BCG

     อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นภาคส่วนสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ  โดยเฉพาะหลังจากวิกฤตโควิด-19 ที่กิจกรรมการท่องเที่ยวกลับมาผ่อนคลาย แต่ถึงอย่างนั้นขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง โมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่เน้นการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ และความยั่งยืน จึงได้ถูกยกเป็นโมเดลสำคัญเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยเน้นพัฒนา
3 ส่วนควบคู่กัน คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy), เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy), เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) 

     การท่องเที่ยวสีเขียว จึงเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวตามแนวคิด BCG และจะเป็นบันไดสำคัญในการเริ่มต้นแนวคิดใหม่

  • ใช้การวิจัยเข้ามาจัดระเบียบทิศทางของธุรกิจ ให้เกิดสมดุลระหว่าง Demand และ Supply หรือแม้แต่สมดุลระหว่างการทำธุรกิจ และการรักษา
    สิ่งแวดล้อม
  • ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง ลดการกระจุกในเมืองหลัก
  • พัฒนาการเพิ่มมูลค่า และคุณค่าของสินค้า ส่งเสริมความสำคัญของอัตลักษณ์ท้องถิ่น
  • การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
  • ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาสินค้า และบริการ
  • ส่งเสริมสินค้า GI ที่เป็นความภาคภูมิใจของท้องถิ่น

ตัวอย่างกิจกรรมการท่องเที่ยวภายใต้แนวคิด BCG การท่องเที่ยวสีเขียว

  • แหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ เกาะหมาก ต.เกาะหมาก จ.ตราด
  • แหล่งท่องเที่ยวเกษตรอินทรีย์ บ้านสวนผักกูดทอง จ.ภูเก็ต
  • ท่องเที่ยวอุทยานธรณีสตูล จ.สตูล

ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เบอร์โทรศัพท์ : +66 2564 7000


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,246,815