เครื่องแต่งกายประจำภาค

                 ประเทศไทยประกอบไปด้วยภาคต่าง ๆ จำนวน 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และ ภาคใต้ แต่ด้วยสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศที่มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ทำให้วัฒนธรรมการแต่งกายของแต่ละกลุ่มคน จึงมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง

ภาคเหนือ

        การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติของกลุ่มชนคนเมือง เนื่องจากผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ แต่ละพื้นถิ่น สำหรับผู้หญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่นล้านนา หรือส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงาม สำหรับผู้ชายนิยมนุ่งกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน ส่วนเสื้อเป็นผ้าฝ้ายคอกลมแขนสั้น สีน้ำเงิน หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า เสื้อม่อฮ่อม 

ภาคกลาง

        ในอดีตเป็นภาคกลางที่เป็นศูนย์กลางของเมืองหลวง และมีวัฒนธรรมการแต่งกายสวยงามเรียกง่าย ๆ ว่า ชุดไทย ผู้ชายสมัยก่อนนิยมสวมใส่โจงกระเบน สวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า "ราชประแตน" ส่วนผู้หญิงนุ่งผ้าลายโจงกระเบน เสื้อผ่าอก แขนยาว ห่มแพรจีบตามขวาง สไบเฉียงทาบบนเสื้ออีกชั้นหนึ่งพร้อมสวมเครื่องประดับ

ภาคอีสาน

        ส่วนใหญ่ใช้ผ้าทอมือ ซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้ายและผ้าไหม ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่าง ผู้ชายส่วนใหญ่นิยมสวมเสื้อแขนสั้น สีเข้ม ๆ สวมกางเกงจรดเข่า นิยมใช้ผ้าคาดเอวด้วยผ้าขาวม้า ผู้หญิงการแต่งกายส่วนใหญ่นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นแบบทอทั้งตัว สวมเสื้อคอเปิดเล่นสีสัน 

ภาคใต้

        ด้วยความที่ภูมิประเทศภาคใต้ ตั้งอยู่แถบศูนย์สูตมีผลให้อากาศร้อน ชาวใต้จึงนิยมแต่งกายแบบเรียบง่าย หลวม ๆ ส่วนมากใช้ผ้าฝ้าย รูปแบบเครื่องนุ่งห่มส่วนใหญ่คล้ายกับของมาเลเซียและอินโดนีเซีย เพราะอยู่ในลักษณะอากาศแบบเดียวกัน ผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของภาคใต้คือผ้ามัดย้อม ผ้ายก ผ้าจวน ผ้าไหม พุมเรียง และผ้าปาเต๊ะ 

อ้างอิง :  https://culture.chandra.ac.th/images/pdf/64019.pdf

ที่มา :  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 48,117,840