เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นหนึ่งในแผนพัฒนาที่ถูกบรรจุในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง รวมทั้งจังหวัดข้างเคียง ให้เชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อทุกระบบ และมีเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ EEC ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม เพื่อยกระดับโครงข่ายด้านคมนาคม รวมทั้งหมด 77 โครงการ
โดยระยะเร่งด่วน เริ่มต้น พ.ศ.2566 เป็นแผนงาน/โครงการที่ต้องดำเนินการทันทีเพื่อผลักดันให้ เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจในพื้นที่ EEC อย่างต่อเนื่อง จำนวน 29 โครงการ วงเงินรวม 125,599.98 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินปี 66 รวม 25,425.65 ล้านบาท มีโครงการสำคัญ เช่น
- โครงการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา
- โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด
- โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรองเพื่อรองรับ HSR ระยะที่ 1 (ชบ 3 HSR ชลบุรี-บ้านบึง-EECi รย 4 ระยอง-บ้านค่าย-EECi) (เอกชน/PPP)
- โครงการปรับปรุงก่อสร้างท่าเทียบเรือ เพื่อท่องเที่ยวเกาะล้าน โครงการก่อสร้าง High speed taxiway และ Taxiway เพิ่มเติม (ท่าอากาศยานอู่ตะเภา)
- การพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transport System : ITS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการจราจรและการขนส่งในพื้นที่กลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง
- งานรื้อย้ายสาธารณูปโภคและก่อสร้างทดแทนในพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมสามสนามบิน
- โครงการจัดหาพลังงานสะอาด (เอกชน/PPP)
ระยะกลาง เริ่มต้น พ.ศ.2567-2570 เป็นแผนงาน/โครงการที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องจากระยะเร่งด่วน จำนวน 48 โครงการ วงเงินรวม 212,197.09 ล้านบาท มีโครงการสำคัญ เช่น
- โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงศรีราชา-ระยอง โครงการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการเดินรถขนส่งสินค้า (เส้นทางหนองคาย-แหลมฉบัง) (เอกชน/PPP)
- โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยอง-จันทบุรี-ตราด ช่วงอู่ตะเภา-ระยอง (เอกชน/PPP)
- โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรองเพื่อรองรับ HSR ระยะที่ 2 (เอกชน/PPP)
- โครงการพัฒนาการให้บริการท่าเรือเชิงพาณิชย์ (ท่าเรือสัตหีบ) MR2 (ชื่อเดิม คือโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองชลบุรี-นครราชสีมา (ช่วงแหลมฉบัง-ปราจีนบุรี ทล.359) (M61)) (เอกชน/ PPP)
- โครงการจ้างติดตั้ง และพัฒนาปรับปรุงระบบการให้บริการท่าเทียบเรือตู้สินค้า (CTMS) สำหรับศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ (SRTO) ของท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3
- โครงการ Dry Port ฉะเชิงเทรา (เอกชน/PPP)
นอกจากนี้ยังมีโครงการเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง/TOD และสนามบินกับเมืองใหม่ ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษา อาทิ โครงการทางหลวงเชื่อมถนนมอเตอร์เวย์สาย 7 และถนน 331 เชื่อมเมืองใหม่ ช่วงบริเวณจุดตัด จอมเทียน-ห้วยใหญ่ (ญ 14 ใหม่ บนผัง EEC) โครงการทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 331 และมอเตอร์เวย์สาย 7 เชื่อมเมืองใหม่ (ช่วงบริเวณ วัดญาณฯ) โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนสายรอง (Feeder) เชื่อมสนามบิน
อู่ตะเภา-เมืองใหม่-พัทยา
แผนงานระยะต่อไป (ตั้งแต่ พ.ศ. 2571) เป็นแผนงานเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ EEC อย่างยั่งยืน รวมถึงการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสนับสนุนให้ EEC เป็นประตูเศรษฐกิจของ CLMV อย่างสมบูรณ์จำนวน 29 โครงการ วงเงินรวม 420,319.29 ล้านบาท มีโครงการสำคัญ เช่น
- MR7 (ชื่อเดิม : โครงการทางคู่สายใหม่ ช่วงบ้านฉาง-ระยอง-จันทบุรี-ตราด)
- โครงการรถไฟ ความเร็วสูง ระยอง-จันทบุรี-ตราด ช่วง ระยอง-ตราด
- โครงการศึกษาความเหมาะสม ICD หนองปลาดุก
- โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ พานทอง-หนองปลาดุก
- โครงการพัฒนาศูนย์ซ่อมสร้างเรือ ณ หาดน้ำหนาว (ท่าเรือสัตหีบ)
- โครงการ MR6 (เดิมชื่อ : ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองกรุงเทพมหานครด่านอรัญประเทศ (M71)) MR7 (ชื่อเดิม : โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองชลบุรี-ตราด (M72))
สำหรับโครงการตามแผนปฏิบัติการฯ พ.ศ. 2566-2570 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 77 โครงการ วงเงินรวม 337,797.07 ล้านบาท แบ่งเป็นภาครัฐลงทุน จากงบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ และงบรัฐวิสาหกิจ จำนวน 61 โครงการ วงเงินรวม 178,578.07 ล้านบาท (ร้อยละ 52.87) และภาคเอกชนลงทุน และการร่วมทุนระหว่างภาครัฐ และเอกชน (PPP) จำนวน 16 โครงการ วงเงินรวม 159,219 ล้านบาท (ร้อยละ 47.13) ซึ่งเป็นการลงทุน ในโครงสร้างพื้นฐาน 295,710.49 ล้านบาท (ร้อยละ 87.5) ระบบสาธารณูปโภค 38,382.58 ล้านบาท (ร้อยละ 11.4) และมาตรการส่งเสริม 3,704 ล้านบาท (ร้อยละ 1.1)
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.), การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
เบอร์โทรศัพท์: +66 2033 8000(สกพอ.), +66 2250 5500(ททท.)