โครงสร้างพื้นฐาน และโลจิสติกส์เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ โดยรัฐบาลได้จัดทำยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) กำหนดกรอบและแนวทางการพัฒนาให้หน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วน
โดยกระทรวงคมนาคมได้กำหนดยุทธศาสตร์ด้านคมนาคม เป็นแผนปฏิบัติการ ระยะที่ 1 (พ.ศ.2563-2565) เป็นกรอบทิศทางการดำเนินงาน และกำหนดแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในทุกมิติ ซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2565
และแผนการขับเคลื่อนในช่วงที่ 2 (พ.ศ.2566-2570) ซึ่งมีเป้าหมายให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศลดลง เพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศของประเทศไทย ได้กำหนดแผนปฎิบัติการดังนี้
- เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง ดึงดูดการลงทุน
- เพิ่มขีดความสามารถท่าอากาศยานหลัก (สุวรรณภูมิ/ดอนเมือง/อู่ตะเภา) จาก 80 ล้านคนต่อปี เป็น 120 ล้านคนต่อปี
- เพิ่มขีดความสามารถ ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง
จาก 7 ล้านตู้ต่อปี เป็น 18 ล้านตู้ต่อปี
- เพิ่มความเร็วการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปหัวเมืองหลัก จาก 80 กม. ต่อชั่วโมง เป็น 120 กม. ต่อชั่วโมง
- เพิ่มความเร็วการเดินรถไฟขบวนผู้โดยสาร จาก 60 กม. ต่อชั่วโมง เป็น 100 กม. ต่อชั่วโมง
- เพิ่มความเร็วการเดินรถไฟขบวนสินค้า จาก 40 กม. ต่อชั่วโมง เป็น 60 กม. ต่อชั่วโมง
- เพิ่มโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ครบ 14 สายทาง ระยะทาง 554 กม. จากปัจจุบัน 11 สายทาง ระยะทาง 212 กม.
- เพิ่มโครงข่ายรถไฟทางคู่ และแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟเป็น 1,111 กม.
- เพิ่มการเชื่อมต่อภูมิภาค ด้วยรถไฟไทย-ลาว-จีน และรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
- เพิ่มโอกาสสร้างอนาคตประเทศ ด้วยโครงการ MR MAP และ Landbridge
เป้าหมายการขับเคลื่อนระบบคมนาคมของไทยระยะ 2 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ น้อยกว่า 11% การขนส่งสินค้าทางรางต่อปริมาณการขนส่งสินค้าทั้งหมดเพิ่มเป็น 7% สัดส่วนการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะในเขต กทม. และปริมณฑลต่อการเดินทางทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 10% และเมืองหลักในภูมิภาคไม่น้อยกว่า 40% และลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนที่ 12 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน
ที่มา: สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
เบอร์โทรศัพท์: (+66) 0 2283 3000