เปิดคู่มือสู่ RCEP มีขั้นตอนอย่างไร

          เนื่องจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกที่มีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน รวมทั้งเป็นความตกลงการค้าเสรีฉบับแรกที่บางประเทศสมาชิกมีร่วมกัน เช่น จีน และญี่ปุ่น เป็นต้น ส่งผลให้ประเทศสมาชิกไม่อาจทำการเปิดตลาดให้แก่ประเทศสมาชิกอื่น ๆ อย่างเท่ากันได้ ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าชนิดเดียวกันจากประเทศสมาชิกหนึ่ง อาจได้รับสิทธิประโยชน์จากประเทศผู้นำเข้าแตกต่างจากสินค้าที่นำเข้าจากอีกประเทศสมาชิกได้ 

          ดังนั้นขั้นตอนการขอรับสิทธิพิเศษภายใต้ความตกลง RECP จะต้องตรวจสอบสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษตามประเทศที่นำเข้า ทั้ง 15 ประเทศภาคีสมาชิก โดยจะมีข้อผูกพันทางภาษีที่กำหนดไว้

          ขั้นตอนต่อมา จะเป็นการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้าที่ตรงตามกระบวนการผลิต ได้แก่ สินค้าที่ได้มา หรือผลิตขึ้นทั้งหมดในภาคีสมาชิก (WO) สินค้าที่ได้มาหรือผลิตขึ้นทั้งหมดโดยใช้วัตถุดิบถิ่นกำเนิดในภาคีสมาชิกภายใต้ความตกลง (PE) หรือกฎเฉพาะรายสินค้า (PSR)

          โดยเกณฑ์การพิจารณา RCEP Country of Origin กำหนดไว้ว่า 

          1. สินค้าต้องเป็นสินค้าที่ได้ถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลง RCEP ไม่ว่าจะด้วยเกณฑ์ WO PE หรือ PSR (CTC RVC CR) ต้องมีสัดส่วนมูลค่าการผลิตในประเทศผู้ส่งออกไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 (คำนวณรูปแบบเดียวกับ RVC แต่นับได้เฉพาะวัตถุดิบที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยเท่านั้น ไม่นับรวมวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิดจากประเทศสมาชิกอื่นด้วย) หากสินค้าสัดส่วนมูลค่าการผลิตไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 RCEP Country of Origin ของสินค้า คือประเทศผู้ส่งออก หากน้อยกว่าให้ระบุ RCEP Country of Origin

          2. กรณีที่สินค้าได้ถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยเกณฑ์ PE จะต้องพิจารณาเพิ่มเติมว่า สินค้ามีกระบวนการผลิตที่เกินกว่ากระบวนการอย่างง่าย (Minimal Operation) หรือไม่ หากเกินกว่า Minimal Operation RCEP Country of Origin ของสินค้า คือประเทศผู้ส่งออก หากเป็นเพียง Minimal Operation ให้ระบุ RCEP Country of Origin  

          3. กรณีที่ไม่สามารถใช้ RCEP Country of Origin ของประเทศผู้ส่งออกได้ ให้ RCEP Country of Origin เป็นประเทศที่มีสัดส่วนของวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิดในกระบวนการผลิตสูงที่สุด


          หากไม่ต้องการพิสูจน์ตามเงื่อนไข หรือไม่สามารถพิสูจน์ได้ หรือไม่ต้องการระบุประเทศที่ได้ถิ่นกำเนิดสินค้า ผู้ส่งออกสามารถเลือกที่จะระบุประเทศที่ได้ถิ่นกำเนิดสูงสุดที่ประเทศผู้นำเข้าเรียกเก็บภาษีสำหรับสินค้า 

          เมื่อดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดจึงจะออกเอกสารหลักฐานการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เพื่อที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามข้อตกลงต่อไป

ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
เบอร์โทรศัพท์: +66 2-528-7500-29


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,244,558