หลังนานาชาติพร้อมใจกันเปิดประเทศซึ่งรวมถึงประเทศไทยเพราะผู้คนไม่ต้องการให้ชีวิตติดกับดักถูกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 แช่แข็ง จึงเริ่มเรียนรู้การอยู่กับโรคนี้ตามวิถีใหม่ พร้อมออกเดินทางบินข้ามน้ำข้ามทะเลมุ่งเปิดประสบการณ์ใหม่เยือนประเทศในใจไม่เว้น “ไทยแลนด์ถิ่นรอยยิ้ม” จนทำให้สถิติชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทยไต่ระดับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพียงไตรมาส 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2565) มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย 7.39 ล้านคน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ยังคาดว่าสิ้นปีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะทะลุ 10 ล้านคน
แต่หากถามว่านักท่องเที่ยวมาไทยแล้วจะเดินทางไปที่ไหนกันต่อบ้าง ร้อยทั้งร้อยต้องแวะกรุงเทพมหานครสักครั้งสำหรับเปิดประสบการณ์ท่องเที่ยว เพราะเมืองหลวงแห่งนี้เต็มไปด้วยความเจริญ สถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายตอบครบทุกโจทย์ ไม่ว่าจะเที่ยวสายเชิงวัฒนธรรมก็เต็มไปด้วยวัด พิพิธภัณฑ์ ชุมชนสำคัญหลายแห่งที่ไม่ควรพลาดไปเยือน หรือ ชอบสังสรรค์สายปาร์ตี้แหล่งสถานบันเทิงก็มีครบทุกรูปแบบพร้อมเสิร์ฟทั้งถนนข้าวสาร สีลมซอย 2 ซอยนานา และซอยทองหล่อ แต่ขณะเดียวกันเมืองกรุงแห่งนี้ก็ยังมีมุมมืดที่ชาวต่างชาติรู้สึกได้ถึงความไม่ปลอดภัย เพราะกรุงเทพฯ เต็มไปด้วยผู้คนหลากหลายที่มา และมีพื้นเพชีวิตต่างกัน เพื่อไม่พลาดตกเป็นเหยื่อภัยมืดในเมืองกรุงที่มีอยู่ทั้ง 50 เขต ไปสำรวจปัญหาอาชญากรรม เพื่อรู้เท่าทันเตรียมพร้อมรับมือป้องกันไม่ให้เกิดภาพฝันร้ายติดตรึงความทรงจำในการเดินทางเยือนสยามเมืองยิ้มในครั้งนี้
ภัยมืดที่ควรระวัง
คำแนะนำในการท่องเที่ยว
1. ตรวจสุขภาพก่อนเดินทาง เพื่อมั่นใจมีสุขภาพพร้อมเดินทาง
2. ทำสำเนาเอกสารเก็บไว้ในช่องทางออนไลน์ (Email) ป้องกันกรณีสูญหาย
3. ไม่เก็บเงินสด บัตรเครดิต หนังสือเดินทางไว้ด้วยกัน ควรนำติดตัวเท่าที่จำเป็นหรือแยกเก็บไว้
4. ควรเก็บทรัพย์มีค่า อาทิ โทรศัพท์มือถือ การ์ดโรงแรม ไว้ในกระเป๋าด้านหน้า หลีกเลี่ยงด้านหลังเพราะเสี่ยงถูกมิจฉาชีพขโมยไป
5. เก็บเครื่องประดับมีค่าไว้ที่บ้าน แต่งกายเรียบง่าย และถูกกาลเทศะ
6. กล้องถ่ายรูปราคาแพงควรเก็บให้มิดชิด
7. หากตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพอย่าพยายามต่อสู้ ควรแจ้งตำรวจ หรือสถานทูตให้ทราบโดยเร็ว
8. อย่าใช้บัตรเครดิตกับโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์คนอื่น เพื่อไม่เสี่ยงต่อการถูกลักลอบใช้บัตรเครดิต และโจรกรรมข้อมูล
9. พิจารณาการซื้อประกันภัยที่เหมาะสมต่อการเดินทางท่องเที่ยว
10. รับประทานอาหารปรุงสุก หมั่นล้างมือ เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่ปิด และมีคนแออัด พกอุปกรณ์ปฐมพยาบาล หรือยาจำเป็นที่ตนเองต้องใช้
11. หากต้องขับขี่รถด้วยตนเอง ควรศึกษากฎหมายจราจรของประเทศปลายทางไว้ก่อน เพื่อป้องกันการฝ่าฝืนกฎหมายจราจร และอุบัติเหตุไม่คาดฝัน
12. ติดตามสภาพอากาศ และหลีกเลี่ยงพื้นที่เกิดการชุมนุมประท้วง
ที่มา : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เบอร์โทรศัพท์ : 0-2283-1500