จากนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศในการเพิ่มความสามารถการแข่งขัน เพิ่มการจ้างงาน และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้ประชาชน แก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้ามายังพื้นที่ตอนในประเทศ รวมทั้งปัญหาการลักลอบนําเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมายจากประเทศเพื่อนบ้าน และปัญหาความแออัดบริเวณด่านชายแดน ตลอดจนการส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่สำคัญรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) จึงจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นรวม 10 พื้นที่ ได้แก่ ตาก สระแก้ว ตราด มุกดาหาร สงขลา เชียงราย หนองคาย นครพนม กาญจนบุรี และนราธิวาส ซึ่งนับเป็นกลไกทางเศรษฐกิจยุคใหม่ที่หลายประเทศนำมาใช้สร้างความน่าสนใจ และดึงดูดการลงทุนจากผู้ลงทุนต่างชาติ จากตรงผู้สนใจลงทุนในกิจการอาจสงสัยว่าแล้วเครื่องมือการส่งเสริมกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของประเทศไทย จะมีมาตรการอะไรบ้าง คู่มือฉบับนี้จะทำให้เข้าใจขั้นตอนต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เพื่อไม่พลาดการลงทุนขยายกิจการให้เติบโตมีมูลค่าเพิ่มขึ้นต่อไป
มาตรการส่งเสริมการลงทุน และสิทธิประโยชน์
1. มาตรการทางภาษี
2. มาตรการมิใช่ภาษี
หลักเกณฑ์การขออนุญาตโครงการ
กลุ่มกิจการเป้าหมาย 13 ประเภท ได้แก่
1. อุตสาหกรรมการเกษตรประมง และกิจการที่เกี่ยวข้อง
2. เซรามิก
3. อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเรื่องหนัง
4. อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือน
5. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
6. การผลิตเครื่องมือแพทย์
7. อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักรและชิ้นส่วน
8. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
9. การผลิตพลาสติก
10. การผลิตยา
11. กิจการโลจิสติกส์
12. นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม
13. กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
ประเภทกิจการเป้าหมายที่ประกาศเพิ่ม 10 กิจการ ได้แก่
1. กิจการอบพืชและไซโล
2. กิจการผลิตภัณฑ์จากผลพลอยได้หรือเศษวัสดุทางการเกษตร
3. กิจการผลิตโครงสร้างโลหะสำหรับงานก่อสร้างหรืออุตสาหกรรม
4. กิจการผลิตสิ่งพิมพ์ทั่วไป
5. กิจการผลิตอาหารสัตว์หรือส่วนผสมอาหารสัตว์
6. กิจการผลิตวัสดุก่อสร้าง และกิจการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรงสำหรับงานสาธารณูปโภค
7. กิจการผลิตสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกาย เช่น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน และเครื่องสำอาง
8. กิจการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับสินค้าอุปโภค เช่น บรรจุพลาสติก
9. กิจการผลิตสิ่งของจากเยื่อหรือกระดาษ เช่น กล่องกระดาษ
10. กิจการพัฒนาอาคารสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและหรือคลังสินค้า
อัตราค่าเช่าและธรรมเนียมการจัดให้เช่าที่ราชพัสดุในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ แบ่งเป็น 2 โซน ดังนี้
1. ตราด สระแก้ว ตราด และสงขลา
2. นครพนม หนองคาย มุกดาหาร และกาญจนบุรี
สำหรับการลงทุนภาพรวมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ณ เดือนพฤศจิกายน 2565 มีมูลค่า 38,895.57 ล้านบาท ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอจำนวน 73 โครงการ วงเงิน 18,495 ล้านบาท จากโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด 106 โครงการ วงเงิน 29,036 ล้านบาท
การยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน
1. ช่องทางการยื่นคำขอ
2.เอกสารประกอบการยื่นคำขอ :
2.1 แบบคำขอรับการส่งเสริม จำนวน 2 ชุด
กรณียื่นคำขอในนามบุคคลธรรมดา : แสดงบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทางของผู้ขอรับการส่งเสริม
กรณียื่นคำขอในนามนิติบุคคล :
กรณีมีการมอบอำนาจ :
สถานที่ติดต่อ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 555 ถนน วิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : 0 2553 8111 โทรสาร : 0 2553 8315
อีเมล :
สอบถามข้อมูล head@boi.go.th
สารบรรณกลาง saraban@boi.go.th
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 555
เบอร์โทรศัพท์ : 02-553-8111