ถ้าตั้งคำถามกับคนกรุงเทพฯ ว่าปัญหาใดที่อยากให้ได้รับการแก้ไขมากที่สุด เชื่อว่า “ปัญหาการจราจร” ต้องผุดขึ้นมาเป็นคำถามแรกในใจของใครหลายคน ซึ่งปัญหาด้านการจราจรโดยเฉพาะการจราจรติดขัดเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน และส่งผลกระทบต่อคนกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน คนกรุงเทพฯ ต้องใช้เวลาในการเดินทางที่นานขึ้น ส่งผลให้เกิดการเสียโอกาส เสียเวลา เสียสุขภาพ
“โครงการพระราม 4 โมเดล” ปลดล็อกข้อมูลการจราจรเพื่ออนาคตที่ดีกว่า จึงได้เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร กองบัญชาการตำรวจนครบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แกร็บประเทศไทย และมูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี เพื่อร่วมศึกษาแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ โดยการใช้เทคโนโลยี และข้อมูลขั้นสูงจากฐานข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และคาดการณ์รูปแบบจราจร และนำมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดการจราจรของถนนพระราม 4 ซึ่งมีความยาว 12 กิโลเมตร นับว่าเป็นถนนที่มีการจราจรหนาแน่นที่สุดในกรุงเทพฯ และมีเส้นทางที่ครอบคลุมพื้นที่ชุมชนขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบกับประชาชนในวงกว้าง
ตัวอย่างฐานข้อมูลของหน่วยงานภาคีทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน
ข้อมูลดังกล่าว ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างระบบ AI และ Machine Learning เพื่อให้ได้ข้อมูลในมิติต่าง ๆ ของปัญหา ทำให้สามารถคาดการณ์ถึงแนวโน้มและรูปแบบของการจราจรในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบ และวางแผนระบบการจัดการจราจร การพัฒนาโครงข่ายการขนส่ง รวมไปถึงการปรับปรุงการวางผังเมืองให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นในอนาคต
ความคาดหวังในผลลัพธ์ 3 ประการ
แหล่งที่มา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
เบอร์ติดต่อ : 0 2215 3555