เคเบิลใต้น้ำ ADC เสริมเขี้ยวเล็บเพิ่มการลงทุนด้านดิจิทัลในไทย

     จากที่รัฐบาลไทยส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็น ASEAN Digital Hub หรือศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน โดยเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศมาอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการต่าง ๆ  

จากที่รัฐบาลไทยส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็น ASEAN Digital Hub หรือศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน โดยเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศมาอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการต่าง ๆ  

     หนึ่งในนี้คือ โครงการก่อสร้างโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศเส้นใหม่ (ASIA Direct Cable : ADC) ซึ่งเป็นการร่วมก่อสร้างเคเบิลใต้น้ำระบบใหม่เชื่อมต่อประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ร่วมกับภาคีสมาชิก 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ไทย จีน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และเวียดนาม เป็นระยะทางความยาว 9,400 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 2,000 ล้านบาท

 

submarine-communications-cable-telecom-2africa-3.jpg

   

โดยสถานะปัจจุบัน ผู้รับจ้างก่อสร้างระบบ และภาคีสมาชิกดำเนินกิจกรรมการทำ Project Management Plan and Quality Assurance Review และ Marine Route Survey ทางด้านเหนือของระบบฯ และน่านน้ำฮ่องกง Desktop Study Review และ Product Design Review เป็นที่เรียบร้อย รวมถึงการผลิตสายเคเบิล และ Repeater บางส่วน ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการทำ Marine Route Survey ทางด้านใต้ของระบบฯ ซึ่งอยู่ระหว่างการส่งมอบสิทธิ์การใช้งานไป เมื่อไตรมาส 4 ของปีที่ผ่านมา (ปี 2565) โดยผลจากการลงทุนครั้งนี้ทำให้ประเทศไทยมีเส้นทางที่หลากหลายเชื่อมตรง (Direct Route) รองรับการใช้งานจำนวน 9 Tbps ในเส้นทางประเทศไทยไปฮ่องกง ประเทศไทยไปสิงคโปร์ และฮ่องกงไปประเทศญี่ปุ่น

      อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีโครงการการเพิ่มความจุโครงข่ายเชื่อมโยงไปยังชายแดนเพื่อเชื่อมต่อกับประเทศกัมพูชา ลาว และเมียนมา และจัดหาอุปกรณ์เพิ่มความจุโครงข่ายเชื่อมโยงไปยังสถานีเคเบิลใต้น้ำจังหวัดชลบุรี เพชรบุรี สงขลา สตูล ขนาดความจุรวม 2,300 Gbps ซึ่งปัจจุบันการจัดหา และติดตั้งอุปกรณ์ตามสถานีต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวม 151 สถานี ดำเนินการแล้วเสร็จ และเปิดใช้งานตั้งแต่ปี 2564 และยังมีโครงการขยายความจุโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศของระบบที่มีอยู่เดิม รวม 1,770 Gbps และขณะนี้เปิดใช้งานแล้วจำนวน 1,190 Gbps เมื่อปี 2564 มีผลให้สามารถปรับลดราคาค่า บริการการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ (IIG)ได้ 45-50% และวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (IPLC) ปรับลดได้ 30% ซึ่งลดได้มากกว่าอัตราค่าบริการที่กำหนดไว้ร้อยละ 20 และจากโครงการนี้ยังทำให้มีผู้ให้บริการผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบเปิด (Over-The-Top : OTT) รายใหญ่เข้ามาตั้ง Server ในประเทศไทย เพื่อเป็น Hub ในการให้บริการอีก

      อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบเคเบิล ADC ถือเป็นการช่วยสนับสนุนธุรกิจของผู้ให้บริการคอนเทนต์ระดับนานาชาติ (Internation Content Provider) และยังเอื้อต่อเทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ 5G ระบบปัญญาประดิษฐ์  Artificial Intelligence (AI)  Internet of Things (IoT) smart City และ Big Data ด้วย


หมายเหตุ :  ภาพกาก่อสร้างเคเบิลใต้น้ำ, ภาพการใช้บริการ แพลตฟอร์มต่าง ๆ ดูหนังฟังเพลง, ภาพการใช้ AI ในการควบคุม เครื่องจักร

ที่มา: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เบอร์โทรศัพท์: (+66) 02 612 6060


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,247,088