การจัดระบบนิเวศที่เป็นศูนย์กลางดิจิทัลในโครงการ Thailand Digital Valley เพื่อสนับสนุนการปรับตัวของประเทศไทยสู่ 4.0 และรองรับการเป็น
ASEAN Digital Hub หรือศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน
โดยในส่วนของโครงการ “Thailand Digital Valley“ ถือเป็นพื้นที่ สำคัญเพราะมีการจัดสรรออกแบบ 5 อาคาร ให้ตรงกับภารกิจด้านดิจิทัล รวมพื้นที่ใช้สอย 86,000 ตารางเมตร ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล จังหวัดชลบุรี แบ่งเป็น ดังนี้
1. อาคาร depa Digital One Stop Service ขนาดพื้นที่ 1,500 ตารางเมตร เพื่อเป็นพื้นที่ให้บริการและอำนวยความสะดวกให้กับ ประชาชน
และนักลงทุน และเป็นพื้นที่ทำงานสำหรับ Local Digital Startup & Digital Tech เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และยังเป็นศูนย์ประสานงานสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคตะวันออก
2. อาคาร Digital Startup Knowledge Exchange Center ขนาดพื้นที่ 4,500 ตารางเมตร เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัล รวมทั้งเป็นชุมชนของดิจิทัลสตาร์ทอัพ (Digital Startup Community) และพื้นที่ต่อยอดธุรกิจ
3. อาคาร Digital Innovation Center ขนาดพื้นที่ 40,000 ตารางเมตร โดยเป็นพื้นที่สร้างสรรค์พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูง ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน
4. อาคาร Digital Edutainment Complex ขนาดพื้นที่ 20,000 ตารางเมตร โดยเป็นพื้นที่ทดสอบทดลองนวัตกรรมดิจิทัล ช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอีสปอร์ต และอุตสาหกรรมเกมไทย
5.อาคาร Digital Go Global Center ขนาดพื้นที่ 20,000 ตารางเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยที่วางแผนจะก้าวสู่ระดับโลก
ซึ่งอาคาร 1-3 ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ และบางอาคารมีผู้เช่าเต็มพื้นที่ ส่วนอาคาร Digital Edutainment Complex และ Digital Go Global Center ได้รับการพิจารณางบประมาณประจำปี 2566 สำหรับการก่อสร้างเรียบร้อย และมีแผนที่จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างทันทีคาดว่าจะก่อสร้างเสร็จภายในปี 2567
ทั้งนี้ โครงการ Thailand Digital Valley นับเป็นการจัดระบบนิเวศด้านดิจิทัลสำคัญซึ่งจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับประเทศไทย ช่วยส่งเสริมให้คนไทยสามารถก้าวไปสู่เวทีระดับโลก ควบคู่ไปกับการเปิดประตูการค้ามิติใหม่ในบทบาทเจ้าของเทคโนโลยีที่ต้องอาศัยพันธมิตรเพื่อเดินหน้าสู่ตลาดสากล
อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการออกแบบ พัฒนา วิเคราะห์ ทดสอบ ทดลองเทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูงของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากเครือข่าย Digital Startup ที่มีผลิตภัณฑ์ หรือบริการดิจิทัลตามเทคโนโลยีเป้าหมายทั้งด้านเทคโนโลยีเพื่อการเงิน (FinTech) เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร (AgTech) เทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว (Travel Tech) เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (Health Tech)
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EdTech) และเทคโนโลยีเพื่อการบริการภาครัฐ (GovTech) รวมถึงการเชื่อมโยง Digital Startup กับบริษัทชั้นนำ ก่อให้เกิด
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัลทั้งด้านเทคโนโลยีด้านการออกแบบฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อัจฉริยะ
(Hardware and Smart Devices) เทคโนโลยีด้านการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เทคโนโลยี IoT, AI, Software Convergence และ Cloud Innovation ซึ่งจะช่วยสนับสนุนธุรกิจ และเกิดการต่อยอดการส่งออกของประเทศนำไปสู่การใช้งานทั้งในโลกจริงและโลกเสมือน และยังรวมถึง Digital Service ซึ่งจะเกิดขึ้นเพื่อรองรับรูปแบบการใช้ชีวิต และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดการจ้างงานนับหมื่นอัตรา และเกิดมูลค่าการลงทุนอีกหลายหมื่นล้านบาทจาก
นักลงทุนที่มาจากทุกมุมโลกด้วย
ที่มา: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
เบอร์โทรศัพท์: +66 2026-2333