ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางทรัพยากรชีวภาพ สูงติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ทำให้ไทยมีความมั่นคงด้านอาหาร สามารถนำทรัพยากรชีวภาพมาใช้ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้หลากหลาย แต่จากพฤติกรรมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพของมนุษย์ และการต้องเผชิญเหตุภัยธรรมชาติหลายครั้งที่ ทำให้การคงอยู่ของทรัพยากรชีวภาพอาจไม่ยั่งยืน ทรัพยากรหลายชนิดกำลังจะสูญพันธุ์ ส่งผลให้ระบบนิเวศขาดความสมดุล ประเทศไทยอาจสูญเสียความมั่นคงด้านอาหาร และต้องเผชิญกับภัยพิบัติร้ายแรงต่าง ๆ ในอนาคต เพื่อรับมือกับปัญหาเหล่านี้
สวทช. ได้ก่อตั้ง ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (National Biobank of Thailand: NBT) จึงถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานในการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพของประเทศ แบบระยะยาว (Long - term Conservation) และเป็นคลังทรัพยากรชีวภาพสำรองให้แก่ประเทศ (Long - term Biobanking Facility) สำหรับรับมือกับวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรชีวภาพอย่างถาวร และเป็นโครงสร้างพื้นฐานช่วยขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ ซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติ รวมถึงการรักษาฐานทรัพยากรชีวภาพ และความหลากหลายทางชีวภาพให้สมดุล
NBT ได้พัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง และใช้เทคโนโลยีมาตรฐาน เพื่อยกระดับการอนุรักษ์ในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้เกิดการนำข้อมูลทรัพยากรชีวภาพที่จัดเก็บไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในภาคส่วนต่างๆ อย่างยั่งยืน
ทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทยแต่ละชนิด มีความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ไม่เท่ากัน เนื่องจากมีทั้งที่เป็นทรัพยากรท้องถิ่น และทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายมาจากพื้นที่อื่น จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บตัวอย่างทรัพยากรชีวภาพ รวมถึงข้อมูลต่าง ๆ เพื่อการอนุรักษ์อย่างมีประสิทธิภาพ
NBT ดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพของประเทศ โดยการทำงานร่วมกันของนักวิจัยจาก 3 ธนาคารหลัก คือ
นักวิจัยของ NBT จะจัดเก็บทรัพยากรชีวภาพแต่ละชนิด โดยรวบรวมข้อมูลหลากหลายมิติ อาทิ สาระสำคัญของทรัพยากรชนิดนั้น ๆ รูปแบบและวิธีการจัดเก็บทรัพยากร ที่มีความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ และข้อมูลรหัสพันธุกรรรม เพื่อทำให้การจัดเก็บเป็นระบบและถูกต้อง โดยได้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลตัวอย่าง (Specimen Management System : SMS) เพื่อกำกับให้การจัดเก็บเป็นระบบ สามารถตรวจสอบคุณภาพการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ตั้งเป้าหมายที่จะเปิดให้หน่วยงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันใช้งาน เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการทรัพยากร
ฐานข้อมูลเหล่านี้ จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึง เพื่อประโยชน์ในการศึกษา วิจัย และต่อยอดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในการอนุรักษ์ และการต่อยอด ให้เกิดมูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมเกษตร อาหาร การแพทย์ และเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างเจ้าของทรัพยากร นักวิจัย และองค์กรทั้งภายใน และต่างประเทศ ด้วยการพัฒนาระบบนิเวศที่เข้มแข็ง ในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรชีวภาพ นอกจาก NBT จะได้ร่วมปฏิบัติงานกับหน่วยงานภาครัฐแล้ว ยังได้ร่วมงานกับผู้ประกอบการรายใหญ่ของประเทศอีกหลายราย ในการสนับสนุนการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแพทย์ เวชสำอาง และอาหารทางเลือก เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ ในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม และอุตสาหกรรมใหม่ รวมถึงก่อให้เกิดรายได้กลับเข้าสู่องค์กร สำหรับวิจัยและอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพ ตามนโยบายของภาครัฐในการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG
แหล่งที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
เบอร์ติดต่อ : 0 2564 7000