ส่องอุตสาหกรรมการแพทย์ หนึ่งในธุรกิจ New S-Curve ของไทยคืบหน้าอย่างไร

ประเทศไทยให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) ในฐานะเป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรม New S-Curve หรืออุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคตประเทศไทย โดยรัฐบาลมุ่งหวังจะผลักดันไทยก้าวเข้า Medical Hub อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อดึงเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ประเทศแล้วยังสามารถเพิ่มอัตราการจ้างงาน

ด้วยอุตสหกรรมการแพทย์ครบวงจรจะครอบคลุมทั้งการแพทย์ทางไกลผ่านระบบ Information and Communication Technology (ICT) การผลิตเครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ การผลิตยา ประเภทชีววัตถุต้นแบบ (Biologic) ชีววัตถุคล้ายคลึง (Biosimilar) และการผลิตยาสมุนไพร เป็นต้น 

นอกจากนี้ ยังต้องเร่งพัฒนายกระดับองค์ประกอบขับเคลื่อน Medical Hub ที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปด้วยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ศูนย์กลางบริการทางการแพทย์ (Medical Service Hub), ศูนย์บริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub), ศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ (Product Hub) และศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย (Academic Hub) จะยิ่งทำให้ดึงเม็ดเงินจากต่างชาติเข้าไทยได้เพิ่มขึ้น โดยคาดการณ์ว่า มูลค่าตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยจะกลับมาขยายตัวแตะระดับ 7.6 แสนล้านบาทในปี 2027 (ปี 2570) หรือเติบโตเฉลี่ย 13.2% ต่อปี

ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยมีโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโดย Joint Commission International (JCI) เป็นจำนวนมาก และมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งบุคลากรในด้านนี้จำนวนมาก ประกอบกับค่าบริการทางการแพทย์อยู่ในอัตราถูกกว่าประเทศอื่น และยังมีบริการที่ดีประทับใจจนทำให้ไทยมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับสากลมาโดยตลอด ส่งผลให้เมื่อปีที่แล้ว (ปี 2565) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยเกือบ 10 ล้านคน ในจำนวนนี้มี 8-12% เป็น Medical Tourism โดยผู้ป่วยต่างชาติส่วนใหญ่เป็นกลุ่มตะวันออกกลางมากถึง 70% 

ที่มา: บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม
เบอร์โทรศัพท์: +66 2457-0068 ต่อ 5221


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,255,848