เปิดกฎหมายป้องกัน และควบคุมมลพิษทางทะเลที่ผู้ประกอบการควรรู้สกัดทำผิดกฎหมาย

         

มหาสมุทร หรือท้องทะเล แหล่งน้ำเค็มที่มีปริมาณมากที่สุดในโลก และกว่า 70% ของออกซิเจนที่อยู่บนโลกล้วนมาจากแพลงก์ตอนพืชที่อาศัยอยู่ในทะเล ซึ่งยังไม่นับรวมประโยชน์อื่นของทะเลที่มีอีกมากมาย แต่ขณะเดียวกันพื้นที่แห่งนี้ก็ถูกทำลายทั้งจากความไม่ตั้งใจและตั้งใจ จนทำให้ที่ผ่านมาพบทั้งการลักลอบทิ้งขยะ และสารเคมีลงทะเล การท่องเที่ยวที่ไม่ดูแลทรัพยากรทั้งการหักทำลายปะการัง การทิ้งขยะไว้จึงยังมีอยู่ให้เห็น และเกิดมาตรการป้องกันแก้ไขตามมา

          โดยในส่วนของประเทศไทย มีการออกกฎหมายหลายฉบับในการป้องกัน และควบคุมมลพิษทางทะเล และแต่ละฉบับมีข้อกำหนดให้องค์กรที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ใช้บังคับกฎหมายซึ่งวัตถุประสงค์ของกฎหมายแต่ละฉบับมีความแตกต่างกันไป ดังนี้    

           - พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 กรมป่าไม้ มีอำนาจดูแลรักษาอุทยานแห่งชาติ ครอบคลุมถึงแหล่งน้ำและทะเล หากมีการทำลายให้ทรัพยากรธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติได้รับความเสียหายมีโทษตามกฎหมายทั้งจำคุก และจับปรับ อาทิ การเก็บหาทรัพยากรธรรมชาติ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท

           - พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 กรมป่าไม้ มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งมีขอบเขตครอบคลุมถึงแหล่งน้ำสาธารณะและทะเลด้วย หากพบการกระทำใด ๆ ที่เป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท

ถึง 50,000 บาท

           - พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ข้อห้ามและบทลงโทษตามกฎหมายนี้มุ่งคุ้มครองการจับสัตว์น้ำมิให้เกิดมลพิษใด ๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำในสถานที่จับสัตว์น้ำ จึงบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดเท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้วัตถุมีพิษลงไปในน้ำ หรือทำให้ที่จับสัตว์น้ำเกิดมลพิษ ยกเว้นแต่เป็นการทดลองเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้กระทำการฝ่าฝืน มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่

10,000-100,000 บาท โดยองค์กรพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาที่จับสัตว์น้ำ คือ กรมประมง  

สำหรับข้อห้าม และบทลงโทษ มีดังนี้

           - ห้ามมิให้ทิ้งสิ่งใดลงในนํ้าอันจะเป็นเหตุให้เกิดการตื้นเขิน ตกตะกอน หรือสกปรก โดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่าก่อน ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และต้องชดใช้เงินค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการขจัดสิ่งเหล่านั้นด้วย

           - การทิ้งน้ำมัน หรือเคมีภัณฑ์ในน้ำ อันอาจจะเป็นเหตุให้เกิดเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต หรือต่อสิ่งแวดล้อม หรือเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และต้องชดใช้เงินค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการแก้ไขสิ่งเป็นพิษ หรือชดใช้ค่าเสียหายเหล่านั้นด้วย

           - ห้ามมิให้ทิ้งน้ำมันปิโตรเลียม หรือน้ำมันที่ปนกับน้ำมันรั่วไหลลงในน้ำ ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรมเจ้าท่า มีอำนาจจะอนุญาตให้มีการทิ้ง เทหิน กรวด ทราย ดิน โคลน อับเฉา สิ่งของ น้ำมันหรือปฏิกูลใดๆได้ โดยจะต้องอยู่ภายใต้ระเบียบปฏิบัติของกรมเจ้าท่าที่กำหนดไว้ในระเบียบกรมเจ้าท่าว่าด้วยการรักษาแนวฝั่งน่านน้ำไทย พ.ศ. 2526 ข้อ 31 

           - กรมเจ้าท่า ยังมีอำนาจควบคุมดูแลเรือที่ใช้ในน่านน้ำไทย อาทิ เรือกลที่เป็นเรือเดินทะเล และเป็นเรือไทย ขนาด 60 ตันกรอสขึ้นไป จะต้องแจ้งกำหนดออกเรือต่อเจ้าท่าก่อนออกเรือจากเขตท่าเรือในน่านน้ำไทย เพื่อตรวจสอบว่าปฏิบัติถูกต้องตามกฎหรือไม่ และเรือกำปั่นที่เข้ามาในน่านน้ำไทยต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับที่กำหนด เช่น การยกธงของเรือ รายงานการเข้ามาในเขตท่าเรือต่อเจ้าท่า ถ้าเรือใดฝ่าฝืนจะถูกลงโทษปรับตั้งแต่ 500-5,000 บาท

           - กรมเจ้าท่า มีการออกกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกใบสำคัญรับรองการตรวจเรือเพื่ออนุญาตให้ใช้เรือ ใบสำคัญรับรองเกี่ยวกับความปลอดภัยแห่งชาติในทะเล เรือกำปั่นที่ใช้เดินทางทะเลระหว่างประเทศต้องมีใบสำคัญต่าง ๆ เหล่านี้ โดยนายเรือต้องแจ้งกำหนดออกเรือจากเขตท่าเรือในน่านน้ำไทย เพื่อให้เจ้าท่าตรวจใบอนุญาตใช้เรือ และใบสำคัญอื่น ๆ ตลอดจนอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ให้ถูกต้องและใช้การได้ และต้องได้รับใบอนุญาตเรือออกจากท่าจากเจ้าท่าก่อนด้วย หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 500-5,000 บาท


หมายเหตุ :  ใช้ภาพการเดินเรือในทะเล, ใช้ภาพคนไปเที่ยวดำน้ำ, ใช้ภาพคราบน้ำมัน ขยะในทะเล

ที่มา : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เบอร์โทรศัพท์: +66 2 278 8500


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 53,325,686