สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ที่มักเกิดขึ้นในช่วงปลายปีและต้นปี เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงปลายปี และต้นปีซึ่งมีความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ฝุ่นละออง PM2.5 เกิดการสะสม ดังนั้นสภาพอากาศจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตรวจพบฝุ่นละออง PM2.5 เกินมาตรฐานอยู่ทุกปี เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษจัดทำแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2566 เน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เขตเมือง พื้นที่การเกษตร และพื้นที่ป่า
โดยเฉพาะพื้นที่เมืองซึ่งมีปัญหาฝุ่นละอองมาจากการจราจร และโรงงานอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ดังนั้น ในส่วนภาคอุตสาหกรรมที่มีโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆอยู่ จะมีเจ้าหน้าที่ออกตรวจกำกับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มปล่อยมลพิษสูงร้อยละ 100 ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะโรงงานที่มีความเสี่ยงในการปล่อยฝุ่นละอองจากกระบวนการเผาไหม้และกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายของฝุ่นซึ่งโรงงานที่มีความเสี่ยงในการปล่อยฝุ่นละอองประกอบด้วยโรงงานที่ใช้หม้อน้ำ โรงงานที่ใช้ถ่านหิน โรงงานหลอมเหล็ก โรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ โรงงานแอสฟัลติก ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัดรวมทั้งสิ้น 896 โรงงาน รวมทั้งจะยังมีการควบคุมสถานประกอบการ ได้แก่ กิจการผสมซีเมนต์ กิจการหลอมโลหะ อู่พ่นสีรถยนต์ กิจกรรมผลิตธูป เพิ่มด้วย
ส่วนด้านการจราจร ได้ขอความร่วมมือให้บำรุงรักษาเครื่องยนต์ ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีการกำหนดโครงการ อาทิ โครงการรถรัฐลดมลพิษ โครงการคลินิกรถลดฝุ่น PM2.5 ซึ่งร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ให้บริการตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ฟรี และลดค่าน้ำมันเครื่อง ค่าอะไหล่ และค่าแรงเป็นพิเศษ การน้ำมัน กำมะถันต่ำมาจำหน่ายในช่วงวิกฤตฝุ่น PM2.5 รวมทั้งการเพิ่มความเข้มงวดตรวจวัดควันดำและขยายพื้นที่ตรวจวัดควันดำเพื่อควบคุมตั้งแต่ต้นทาง เช่น บริษัทรถบรรทุก สถานีขนส่ง และอู่รถโดยสารสาธารณะประจำทางและไม่ประจำทาง อู่รถโดยสาร ขสมก. อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม และผู้ที่มีรถยนต์ทุกชนิดใช้ในสถานประกอบการควรเร่งปรับแก้ให้ถูกต้องเพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมายจนกระทบกิจการได้
หมายเหตุ : ภาพโรงงานถ่านหิน, โรงงานหลอมเหล็ก, โรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ, ภาพฝุ่นควัน, ภาพรถขนสินค้าวิ่ง
ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ
เบอร์โทรศัพท์: +66 2298-2000