ประเทศไทย กับสหภาพยุโรป 27 ประเทศ ประกาศร่วมกันอย่างเป็นทางการ เริ่มนับหนึ่งการจัดทำเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) ไทย-สหภาพยุโรป (ไทย – อียู) หลังจากการเจรจาได้หยุดชะงักไปกว่า 10 ปี ที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะเริ่มการเจรจานัดแรกในเดือน ก.ค. 2566 และวางเป้าหมายการเจรจาแล้วเสร็จภายใน 2 ปี หรือปี 2568 ทั้งประเด็นการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนระหว่างกัน
หากการเจรจา FTA ไทย – อียู บรรลุข้อตกลง ฝ่ายไทยจะได้รับประโยชน์ คือ
- เมื่อมีผลบังคับใช้ ภาษีการส่งออกสินค้าไทยไปสหภาพยุโรป 27 ประเทศ จะเป็นศูนย์ สามารถแข่งขันด้านราคา และมีแต้มต่อกับประเทศที่ไม่ได้ทำ FTA กับอียู เช่น ยานยนต์และส่วนประกอบ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ, เสื้อผ้าสิ่งทอ, อาหาร, ยางพารา, เคมีภัณฑ์และพลาสติก
- ภาคบริการ จะได้สิทธิพิเศษ ที่ไทยมีความเชี่ยวชาญหลายด้าน เช่น ค้าส่ง – ค้าปลีก, การผลิตอาหาร และการท่องเที่ยว
- การนำเข้าวัตถุดิบ ภาษีจะเป็นศูนย์ จะช่วยลดต้นทุนภาคการผลิตของไทย โดยเฉพาะการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ และเคมีภัณฑ์
- การแลกเปลี่ยนการลงทุนระหว่างกันของทั้ง 2 ฝ่าย ไทยจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม
- มีส่วนสำคัญในการดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกมาลงทุนในไทย เพิ่มมูลค่าการลงทุน เพิ่มจีดีพีให้ประเทศ
- ทำให้ไทยเพิ่มจำนวน FTA มากขึ้น จากปัจจุบันมี 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ จะเพิ่มเป็น 15 ฉบับ กับ 45 ประเทศ ในทันทีที่มีผลบังคับใช้ และถือว่าประเทศไทย เป็นประเทศที่ 3 ในอาเซียน ที่สหภาพยุโรป 27 ประเทศ ตกลงทำ FTA ด้วย จากปัจจุบันมีประเทศเวียดนามและสิงคโปร์ ที่มี FTA กับอียู
ทั้งนี้ สหภาพยุโรป 27 ประเทศ มีประชากรรวมกัน ประมาณ 500,000,000 คน เป็นคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 4 ของไทย มีสัดส่วนมูลค่าการค้ากับไทย 7% เมื่อไทยมูลค่าการค้าไทยกับทั่วโลก
แหล่งที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
เลขที่ 563 ถ.นนทบุรี ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
เบอร์ติดต่อ : 0 2507 7572
ข้อมูลเพิ่มเติม