พิธีการศุลกากรของเขตปลอดอากรมี 3 กระบวนการ ดังนี้
1. การนำของเข้าเก็บในเขตปลอดอากร
- การนำของเข้าจากต่างประเทศ – ให้จัดทำใบขนสินค้า Type 0 และระบุการใช้สิทธิประโยชน์ของเขตปลอดอากรในใบขนสินค้าด้วย
- การรับโอนของจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรอื่น เช่น รับโอนของตามมาตรา 29/คลังสินค้าทัณฑ์บน/เขตปลอดอากรอื่น/เขตประกอบการเสรี/ของที่ได้รับการส่งเสริมบีโอไอ – ให้จัดทำใบขนสินค้า Type D และระบุการใช้สิทธิประโยชน์ของเขตปลอดอากรในใบขนสินค้าด้วย
- การนำของจากภายในประเทศ – ให้จัดทำคำร้องแบบกศก. 122 หรือ ใบขนสินค้า Type D โดยไม่ต้องระบุการใช้สิทธิประโยชน์ของเขตปลอดอากรในใบขนสินค้า
2. การนำของออกจากเขตปลอดอากร
- การนำของออกไปต่างประเทศ ให้จัดทำใบขนสินค้า Type 1
- การโอนของไปยังสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรอื่น
- โอนไปเขตปลอดอากรอื่น/เขตประกอบการเสรี ให้จัดทำใบขนสินค้า Type D
- โอนไปคลังสินค้าทัณฑ์บน/ของที่ได้รับการส่งเสริมบีโอไอ/ของตามมาตรา 29 ให้จัดทำใบขนสินค้า Type C
- การนำของเข้าภายในประเทศ ให้จัดทำใบขนสินค้า Type P เพื่อชำระค่าภาษีอากร ตามสภาพแห่งของ ราคาศุลกากร และพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่ปล่อยของนั้นออกไปจากเขตปลอดอากร
- การขออนุมัติทำลายของ ให้จัดทำคำร้องเพื่อขออนุมัติทำลายของ และนำไปตัดบัญชีของคงคลังต่อไป
3. ระยะเวลาการเก็บของในเขตปลอดอากร โดยของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร และเก็บในเขตปลอดอากร ได้รับสิทธิยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรให้เก็บของในเขตปลอดอากรได้ไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่นำเข้าเก็บครั้งแรก และสามารถขยายระยะเวลาการเก็บของได้ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ ทั้งนี้ไม่นับระยะเวลาการเก็บของที่เป็นเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ รวมทั้งส่วนประกอบของของดังกล่าวที่จำเป็นต้องใช้ในการประกอบอุตสาหกรรม และ/หรือพาณิชยกรรม
ข้อมูล ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
ที่มา : ฝ่ายจัดตั้งเขตปลอดอากร กรมศุลกากร
โทร. 0 2667 6536