ไทย - ญี่ปุ่น ผนึกความร่วมมือสู่สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ใน EEC

ไทย - ญี่ปุ่น ผนึกความร่วมมือสู่สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ใน EEC

            การพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเป็นการนำแนวคิดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนมาในใช้ในการดำเนิน ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) โดยลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบ และลดต้นทุนในภาคการผลิต ลดของเสีย ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

            นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นพันธมิตรในการร่วมมือการพัฒนาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายประเทศไทย 4.0 เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันในการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ผ่านกิจกรรมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในพื้นที่อีอีซี การสร้างสรรค์โครงการลงทุนใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลและยกระดับโครงการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่อีอีซี 

            และด้วยนครโอซากาเป็นมหานครที่มี GPP สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศญี่ปุ่น และ 1 ใน 10 เมืองที่มี GPP มากที่สุดของโลก มีความโดดเด่นในการผลักดันเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ และฐานด้านการวิจัยและพัฒนาของบริษัทชั้นนำหลายแห่ง ความร่วมมือระหว่างกัน จึงถือเป็นประตูสำคัญในการเชื่อมโยงไปถึงภาคเอกชนญี่ปุ่นในนครโอซากาที่สนใจลงทุนในพื้นที่อีอีซี โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ

            ที่ผ่านมาเอกชนญี่ปุ่น ได้มีความร่วมมือกับไทยศึกษาแนวทางการยกระดับมาตรฐานของนิคมอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยคาร์บอน ลดการใช้พลังงาน ส่งเสริมการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และหันมาใช้พลังงานสะอาดที่หลากหลายในพื้นที่ EEC เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวภาพ พลังงานไฮโดรเจน รวมไปถึงการยกระดับระบบขนส่งที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ และระบบบริหารจัดการพลังงาน และการลงทุนที่เน้นส่งเสริมโมเดล BCG จะเป็นการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมอัจฉริยะและยั่งยืน


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,247,786