สินค้าเป้าหมายในการพัฒนา BCG Model ด้านพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ

            BCG Model เป็นโมเดลในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ได้พิจารณามาจากจุดแข็งที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผลผลิตทางการเกษตร ความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในด้านของระบบนิเวศและชนิดพันธุ์ “การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ” จึงได้ถูกยกให้เป็นภารกิจสำคัญในการสร้างโอกาสทางการตลาด และเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ไทยสู่ห่วงโซ่มูลค่าของโลก มีการกำหนดสินค้าเป้าหมายโดยการพิจารณาจากสินค้าที่ตลาดมีความต้องการสูง ผู้ประกอบการไทยมีความสามารถในการแข่งขัน รองรับผลผลิตทางการเกษตรที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลต่อการกระจายรายได้ พร้อมกันนี้ยังเป็นสินค้าที่จะช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมให้กับประเทศ โดยผลิตภัณฑ์เป้าหมายในการพัฒนาได้ถูกกำหนดไว้ดังนี้

            1. พลังงานหมุนเวียน เช่น ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ไฟฟ้าขยะ ไฟฟ้าจากชีวมวล และก๊าซชีวภาพ

            2. เชื้อเพลิงชีวภาพ ได้แก่ เอทานอล เช่น E20 ไบโอดีเซล เช่น B10, Bio Jet (BHD) และ Ethanol Fuel Cell EV, Ethanol Hydrogen Fuel 

            3. เอทานอลเพื่ออุตสาหกรรมและเวชภัณฑ์ชนิดใหม่ เพื่อการใช้ในอุตสาหกรรมการแพทย์ เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์อาหาร 

            4. พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) เช่น PLA (Polylactic Acid) PBAT (Polybutylene Adipate Terephthalate) PBS (Polybutylene Succinate) และ PHAs (Polyhydroxyalkanoates) 

            5. ผลิตภัณฑ์โอลิโอเคมิคอล (Oleochemical) จากการพัฒนาต่อยอดจากน้ำมันปาล์ม รวมถึงผลพลอยได้ เช่น กลีเซอรอล 

            6. เคมีชีวภาพเพื่อเกษตรปลอดภัย เช่น สารชีวภัณฑ์เกษตร 

            7. Cosmetic Ingredients : Fragrance Compounds, Bio Surfactant, Bio Solvent, Antioxidants และ Specialty Enzymes 

            8. จุลินทรีย์ที่ให้คุณสมบัติพิเศษ เช่น Synthetic Biology  


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,247,376