ลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วน และวัตถุดิบเครื่องมือแพทย์ในอุตสาหกรรม

กลยุทธ์ที่ 3 ที่มีส่วนช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ คือการลดภาษีการนำเข้าชิ้นส่วนและวัตถุดิบที่ใช้ในเครื่องมือแพทย์เป็นศูนย์ และสนับสนุน
การต่อยอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ (Technology Localization) จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน BCG สาขาเครื่องมือแพทย์

การพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศสำหรับอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ (Technology Localization) เป็นกลไกเพื่อแก้ปัญหาของภาคอุตสาหกรรม การยกระดับงานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรม (Translational research)/มีการต่อยอดเพื่อทำวิจัยเชิงลึก (Technology Deepening) เพื่อสร้างผลกระทบ
ทางเศรษฐกิจสูง ช่วยแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ โดยสนับสนุนลงทุนด้านการวิจัย และพัฒนา (R&D Investment) ที่มีความเข้มข้นในโจทย์ที่ท้าทายอย่างชาญฉลาดระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชนจากทั้งในและต่างประเทศ ก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่พัฒนาจากเดิมไปอย่างก้าวกระโดด (Leapfrogging)

นอกจากนี้ การช่วยให้ผู้ผลิตไทยมีต้นทุนที่ถูกลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชิ้นส่วนที่สำคัญ เช่น กลุ่มพลาสติก ท่อโลหะ จึงควรมีการจำแนกประเภทย่อย โดยให้มีหน่วยงานรับรองที่เชื่อถือได้ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจแก่หน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ โดยมีมาตรการที่เกี่ยวข้อง 2 ส่วน คือ การยกเว้นอากรขาเข้าแก่ชิ้นส่วน และวัตถุดิบเพื่อผลิตเครื่องมือแพทย์ภายในประเทศ และจัดให้มีการให้สิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย ผ่านกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องมือแพทย์ โดยทั้งหมดจะส่งผลให้ลดการนำเข้าเครื่องมือแพทย์จาก
ต่างประเทศ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยแข่งขันกับบริษัทต่างชาติในการเข้าถึงตลาดภาครัฐ สร้างความมั่นคงทางสาธารณสุขของไทย และเครื่องมือแพทย์มีราคาถูกให้แก่ผู้บริโภคใช้งาน

ที่มา: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

เบอร์โทรศัพท์: +66 2 564 8000


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,254,340