กลยุทธ์ที่ 4 ที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ คือพัฒนาศักยภาพของบุคลากรวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งผู้ประกอบการด้านการผลิตและบริการ ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน BCG สาขาเครื่องมือแพทย์ โดยเริ่มจากการ Upskill-Reskill การพัฒนาทักษะด้านวิจัยและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ให้แก่ผู้ใช้ ผู้ประกอบการให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ รวมทั้งการใช้ผลิตภัณฑ์ไทยในการพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ในสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานภาครัฐ โดยแนวทางปฏิบัติคือการ Training ด้านมาตรฐานและความเสี่ยง ผ่านกลไก
Career for the Future Academy และส่งเสริมการเพิ่มทักษะของผู้ใช้ ผู้ประกอบการให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรม
และเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์
อีกด้านที่สำคัญ คือ การพัฒนาแพลตฟอร์มการศึกษาครบวงจรเพื่อการพัฒนานักศึกษาปริญญาโท และการวิจัยพัฒนานวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาบุคลากรในกลุ่มที่มีศักยภาพในการเป็นนักวิจัย นักนวัตกร ซึ่งมีความสามารถในการศึกษาด้วยตนเองแล้วนั้น ปัจจุบันได้มีแพลตฟอร์มการศึกษาอย่างกระจัดกระจาย โดยในประเทศไทยยังขาดแหล่งรวมของการศึกษา และการรวบรวมความรู้ เทคโนโลยีด้านเครื่องมือแพทย์มีไม่มากเท่าที่ควร จึงควรมีการพัฒนาแพลตฟอร์มการศึกษาอย่างครบวงจรเกิดขึ้น โดยการพัฒนาหลักสูตรอบรม Online แบบ Module เพื่อให้นักศึกษาเลือกเรียนเพื่อเพิ่มทักษะด้านการเป็นนวัตกร และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และนักศึกษาปริญญาโทปฏิบัติงานในโรงงาน และทำวิทยานิพนธ์ ในหัวข้อที่ตรงกับ
ความต้องการของบริษัท
ที่มา: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เบอร์โทรศัพท์: +66 2 564 8000