ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารไทยด้วย BCG Model

         แนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารไทยด้วย BCG Model ต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อม สถานการณ์ปัจจุบัน และสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต สามารถสรุปเป็นภาพรวมได้ดังนี้

  1. การสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศ พร้อมกับการสร้างความมั่นคงให้กับทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานการผลิตที่ยั่งยืน ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีศักยภาพพอในการผลิตอาหารได้อย่างเพียงพอสำหรับคนในประเทศ แต่ความมั่นคงทางอาหารก็เป็นเรื่องที่ต้องจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนเข้าถึงอาหารได้อย่างทั่วถึง และอาหารนั้นต้องมีคุณภาพ และมาจากกระบวนการผลิตแบบยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  2. การขยายการส่งออกอาหารทั้งการเพิ่มจำนวนในตลาดเดิม และขยายตลาดใหม่ในระดับนานาชาติ โดยต้องศึกษาความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ รวมไปถึงการออกแบบอาหาร หรือบรรจุภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค โดยควรจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะทางด้านที่ศึกษาข้อมูลเชิงลึก

  3. การร่วมมือกันของเอกชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอาหาร ในการตั้งรับและปรับตัวให้เข้ากับกฏระเบียบสากล ที่มีการปรับเปลี่ยน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงของมนุษย์ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  4. การทำให้อาหารในกลุ่มต่าง ๆ มีมาตรฐาน คุณภาพและความปลอดภัย ทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับนานาชาติ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และการขยายตลาดจำหน่ายอาหาร ซึ่งมาตรฐานเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ทำให้เกิดความมั่นใจในการซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ

  5. การสร้างแบรนด์อาหารไทยในระดับโลก โดยการส่งเสริมนโยบายการสร้าง Global Brand สำหรับอาหารไทย หรือแบรนด์ครัวระดับโลก
    เพื่อให้อาหารไทยเป็นที่ยอมรับในระดับโลก พัฒนาสินค้าไทยให้เป็นสินค้าพรีเมี่ยม พร้อมสร้างจุดขายให้อาหารไทย 

ที่มา: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
เบอร์โทรศัพท์: +66 2 564 8000


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,253,371