เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัย และคุณภาพอาหารแก่ผู้บริโภคจึงจำเป็นต้องมีกฏหมายเพื่อมาทำหน้าที่ควบคุมการผลิตอาหารตลอดจนห่วงโซ่อาหาร โดยมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ในการเป็นตัวหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของอาหาร ซึ่งกฏหมายที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอาหารนั้นสามารถแบ่งรายละเอียดได้ดังนี้
- พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2561 โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เป็นกฏหมายที่กำหนดมาตรการสำหรับสินค้าเกษตร กระบวนการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้า เพื่อควบคุมและส่งเสริมสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ
- พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2551 (ฉ.3) โดยกรมวิชาการเกษตร เป็นกฏหมายที่กำกับดูและสุขอนามัยพืช กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนำเข้า และส่งออกพืชให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
- พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2550 (ฉ.3) กำกับโดยกรมวิชาการเกษตร เป็นกฏหมายที่ข้องกับปัจจัยการผลิตพืช โดยคุ้มครองให้เกษตรกรได้ใช้เมล็ดพันธุ์มีคุณภาพ
- พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 กำกับโดยกรมประมง เป็นกฏหมายที่มีข้อกำหนดให้มีการปฏิบัติตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีต่อองค์การระหว่างประเทศ และเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำให้เกิดความยั่งยืน โดยคำนึงถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
- พระราชบัญญัติควมคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 ออกโดยกรมปศุสัตว์ เป็นกฏหมายที่สร้างระบบควบคุม ตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการฆ่าสัตว์ และขนส่งเนื้อสัตว์ เพื่อการจำหน่ายที่มีมาตรฐานสร้างความปลอดภัย และคุ้มครองผู้บริโภค
- พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นกฏหมายที่ควบคุมคุณภาพอาหาร โดยเน้นคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหลัก รวมถึงการควบคุมการโฆษณาอาหาร
- พระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าการเกษตรและอาหารแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อให้มีหน่วยงานหลักในการกำหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์ด้านอาหารในมิติคุณภาพ ความปลอดภัย และการศึกษาด้านอาหารที่ครอบคุมห่วงโซ่อาหารอย่างมีเอกภาพ
ที่มา: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
เบอร์โทรศัพท์: +66 2564-7000