การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG (พ.ศ. 2564 – 2570)

        การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ปี พ.ศ. 2564 - 2570 แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะด้วยกัน โดยระยะแรกของการดำเนินการผู้เกี่ยวข้องสามารถเก็บเกี่ยวผลบางส่วนได้ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีการดำเนินงานมาระยะหนึ่งแล้ว สำหรับในระยะถัดไป คือ ระยะของการขยายผล รวมถึงการริเริ่มการดำเนินการใหม่ เพื่อเป็นการวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับบริบทโลก และประเทศ ทั้งนี้กิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้แผน เป็นการเริ่มดำเนินการพร้อมกันเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า และมีผลสัมฤทธิ์เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาของแผนปฏิบัติการ ซึ่งแต่ละระยะมีรายละเอียดดังนี้

ระยะที่ 1 พ.ศ. 2564 - 2565 (ดำเนินการแล้ว)

  • จตุภาคีมีการรับรู้และมีความเข้าใจโมเดลเศรษฐกิจ BCG เพิ่มขึ้น
  • หน่วยงานต่าง ๆ มีการปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับแผน BCG
  • เกษตรกร ผู้ประกอบการ ได้รับการพัฒนาทักษะใหม่ที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพที่ดียิ่งขึ้น
  • ระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศด้วย BCG Model ได้แก่ กลไกการเงินการคลัง การนำเข้าผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ การจัดทำฐานข้อมูล เช่น ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว ฐานข้อมูลบัญชีนวัตกรรมไทย

ระยะที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2568 

  • สัดส่วนเกษตรกร ผู้ประกอบการที่ประยุกต์ใช้แนวคิด BCG เพิ่มขึ้น
  • ตลาดในประเทศสำหรับผลิตภัณฑ์ และบริการ BCG ขยายตัวเพิ่มขึ้น
  • สัดส่วนของมูลค่าพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการมูลค่าสูงเพิ่มขึ้น
  • การขยายตัวของการลงทุนในอุตสาหกรรม BCG เดิมและใหม่

ระยะที่ 3 พ.ศ. 2569 - 2570

  • ส่วนแบ่งตลาดผลิตภัณฑ์ และบริการในภูมิภาคและโลกเพิ่มขึ้น
  • ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพดีขึ้น
  • ประเทศไทยมีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์/บริการ BCG ในเวทีสากล
  • การนำระบบการผลิต และการบริโภคยั่งยืนมาปรับใช้เพิ่มขึ้น
  • มีโครงสร้างพื้นฐานขั้นแนวหน้าที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม

ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เบอร์โทรศัพท์ :  0-2564-7000


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,246,394