ขั้นตอนการเปรียบเทียบปรับคนต่างด้าวอยู่เกินกำหนดอนุญาต

ขั้นตอนการเปรียบเทียบปรับคนต่างด้าวอยู่เกินกำหนดอนุญาต

      การเดินทางเข้าประเทศไทย แต่ละครั้งผ่านจุดผ่านแดนทางบก เจ้าหน้าที่จะประทับตรากำหนดระยะเวลาที่สามารถเข้าพำนักในไทยตามประเภทของวีซ่า แต่หากอยู่เกินกำหนดจะโดนเปรียบเทียบปรับ

รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการเปรียบเทียบปรับคนต่างด้าวอยู่เกินกำหนดอนุญาต ดังนี้

  1. เจ้าหน้าที่ประจำช่องตรวจหนังสือเดินทาง ตรวจพบคนต่างด้าวที่อยู่เกินกำหนดอนุญาตส่งตัวให้พนักงานเปรียบเทียบปรับ
  2. เจ้าหน้าที่เปรียบเทียบปรับ แจ้งให้ผู้เดินทางทราบถึงวันที่เกินกำหนดอนุญาต และจำนวนเงินที่ต้องชำระค่าปรับ

     - กรณียินยอม ชำระค่าปรับ เจ้าหน้าที่ ดำเนินการเปรียบเทียบ ออกใบเสร็จรับเงินค่าปรับ บันทึกภาพ บันทึกข้อมูลในระบบ ประทับตราอนุญาต ตราเปรียบเทียบปรับ ลงในหนังสือเดินทาง และบัตร ตม.6  คืนหนังสือเดินทางและใบเสร็จรับเงิน
     - ส่วนกรณีไม่ยินยอม ให้เจ้าหน้าที่เปรียบเทียบปรับ จะมีการส่งเจ้าหน้าที่สืบสวนดำเนินการต่อไป

บทลงโทษเมื่ออยู่เกินกำหนดระยะเวลาอนุญาต

  1. หากอยู่เกินกำหนดระยะอนุญาต สามารถเข้ามอบตัวได้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ก่อนเดินทางออกนอกประเทศไทย โดยเสียค่าปรับในอัตรา 500 บาท ต่อวัน และปรับสูงสุด 20,000 บาท (เมื่ออยู่เกิน 40 วันขึ้นไป)
  2. หากอยู่เกินกำหนดระยะอนุญาต และไม่ได้เดินทางออกนอกประเทศไทย (90 วันหรือมากกว่านั้น) เป็นความผิดร้ายแรง ต้องถูกลงโทษทางกฎหมาย โดยเสียค่าปรับ 20,000 บาท และถูกเนรเทศออกนอกประเทศ ห้ามไม่ให้เดินทางเข้าประเทศไทยอีกตามระยะเวลาที่เกินกำหนด

กรณีคนต่างด้าวเข้ามอบตัว กรณีอยู่เกินระยะเวลาอนุญาต

  1. หากอยู่เกินระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตมากกว่า 90 วัน จะถูกห้ามกลับเข้ามาเป็นเวลา 1 ปี นับตั้งแต่ วันที่เดินทางออกจากประเทศไทย
  2. หากอยู่เกินระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตมากกว่า 1 ปี จะถูกห้ามกลับเข้ามาเป็นเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่เดินทางออกจากประเทศไทย
  3. หากอยู่เกินระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต มากกว่า 3 ปี จะถูกห้ามกลับเข้ามาเป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่เดินทางออกจากประเทศไทย
  4. หากอยู่เกินระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตมากกว่า 5 ปี จะถูกห้ามกลับเข้ามาเป็นเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่เดินทางออกจากประเทศไทย

กรณีคนต่างด้าวถูกจับกุมดำเนินคดี กรณีอยู่เกินระยะเวลาอนุญาต

  1. หากอยู่เกินระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตน้อยกว่า 1 ปี จะถูกห้ามกลับเข้ามาเป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่เดินทางออกจากประเทศไทย
  2. หากอยู่เกินระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตมากกว่า 1 ปี จะถูกห้ามกลับเข้ามาเป็นเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่เดินทางออกจากประเทศไทย

ที่มา : ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดพังงา
37 หมู่ 3 ต.ถ้ำน้ำผุด อ.เมือง จ.พังงา เบอร์ติดต่อ : 0 7546 0512
ข้อมูลเพิ่มเติม

 


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 69,255,788