ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปที่มีเงินได้ไม่ว่าประเภทใด ชนิดใด ถ้าไม่มีกฎหมายยกเว้นให้แล้วก็อยู่ในข่ายต้องเสียภาษี ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา โดยมีสถานะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว กรณีเป็นผู้มีเงินได้ที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ เป็นคนต่างด้าว หรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องขอมีเลข และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น แต่สำหรับผู้มีเงินได้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน สามารถใช้เลขประจำตัวประชาชน แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรได้ โดยไม่ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรอีก
ผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ กรุงเทพมหานครทั้ง 30 แห่ง หรือสำนักสรรพากรพื้นที่ สาขา (อำเภอ) ทุกแห่ง สำหรับในต่างจังหวัด ยื่นคำขอได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ (จังหวัด) และสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ทุกแห่ง แล้วแต่กรณี โดยยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดจากปีที่มีเงิน เว้นแต่เงินได้บางกรณี เช่น การให้เช่า ทรัพย์สิน เงินได้จาก วิชาชีพอิสระ เงินได้จาก การรับเหมา เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น กฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระ และเงินได้บางกรณี กฎหมายยังกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จากเงินได้ที่จ่าย เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีด้วย
ปัจจุบัน กรมสรรพากร ยังสามารถกำหนดให้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระ ณ ที่ ทำการไปรษณีย์ เฉพาะที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร เท่านั้น โดยส่งทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนพร้อมแนบเช็ก หรือธนาณัติ ตาม จำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระทั้งจำนวน ภายในกำหนดเวลาการยื่นแบบฯ และสามารถยื่นทางออนไลน์ได้แล้ว ทาง www.rd.go.th หรือทาง RD Smart Tax Application ทางโทรศัพท์มือถือ
ข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2563
แหล่งที่มา : กรมสรรพากร 90 ซอยพหลโยธิน 7 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
เบอณืติดต่อ : 0 2272 8000