เปิด "แผนพลังงานชาติ" สู่เป้าหมาย เป้าหมาย Carbon Neutrality

เปิด "แผนพลังงานชาติ" สู่เป้าหมาย เป้าหมาย Carbon Neutrality

          "Carbon neutrality" หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน คือ การที่ปริมาณการปล่อยคาร์บอน (CO2) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับคืนมาผ่านป่าหรือวิธีการอื่น

          ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างการจัดทำกรอบแผน “พลังงานแห่งชาติ” เป็นการกำหนดนโยบายด้านพลังงานของประเทศ โดยวางแนวทางให้สอดคล้องกับการมุ่งสู่เป้าหมายลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon neutrality) ภายใน ค.ศ. 2065 - 2070 

โดยแผนพลังงานชาติ ได้กำหนดแนวทาง 5 แผนงาน ได้แก่

1. แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) 

2. แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) 

3. แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) 

4. แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan) 

5. แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)

และได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินด้าน 4 แผน ผลักดันการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น โดยเพิ่มพลังงานหมุนเวียนเพื่อสร้างสมดุลที่มาจากพลังงานลม ชีวมวล และแสงอาทิตย์ ได้แก่

1. ด้านไฟฟ้า เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าใหม่ โดยมีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน (RE) ไม่น้อยกว่า 50% ให้สอดคล้องแนวโน้มต้นทุน RE ที่ต่ำลง โดยพิจารณาต้นทุนของระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) ร่วมด้วย และไม่ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าระยะยาวสูงขึ้น

2. ด้านก๊าซธรรมชาติจะเน้นการเปิดเสรีและการจัดหาเพื่อสร้างความมั่นคงให้ระบบพลังงานประเทศ และการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็น Regional LNG Hub

3. ด้านน้ำมัน ต้องปรับแผนพลังงานภาคขนส่ง และพิจารณาการบริหารการเปลี่ยนผ่าน สร้างความสมดุลระหว่างผู้ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio Fuel) และยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

4. ด้านพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน ส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนทุกภาคมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานจากทุกภาคส่วนให้เข้มข้นขึ้น

          “กรอบแผนพลังงานแห่งชาติ” มุ่งสู่พลังงานสะอาด เตรียมรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำ รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการดึงนักลงทุนต่างประเทศ และคำนึงความมั่นคงของระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะภายใน 1 - 10 ปีข้างหน้า จะเร่งพลังงานสะอาดมากขึ้นและเป็นแผนที่ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น คาดจะประกาศใช้ปี 2566 


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 31,087,007