การท่องเที่ยวสายมูเตลู

    ปัจจุบันกระแสความเชื่อ ความศรัทธา กำลังได้รับความนิยมทั่วโลก จนเกิดการท่องเที่ยว “มูเตลู” ในประเทศไทย การท่องเที่ยวมูเตลู อาจเทียบได้กับการท่องเที่ยวเชิงศรัทธาของต่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ ซึ่งรายงานของ Future Market Insight พบว่า การท่องเที่ยวเชิงศรัทธาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกถึง 13.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2565 และจะเพิ่มเป็น 40.92 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2576 หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าภายใน 10 ปี

     สำหรับประเทศไทย มูลค่าทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวสายมูฯ จากการคาดการณ์ของกระทรวงพาณิชย์ พบว่า เฉพาะการแสวงบุญสามารถสร้างรายได้หมุนเวียนในระบบมากถึง 10,800 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.36 ต่อมูลค่าการท่องเที่ยวโดยรวมของประเทศในปี 2562 

4 องค์ประกอบผลักดันโมเดลท่องเที่ยวสายมู

  1. การเริ่มต้นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ได้มาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามศรัทธาของแต่ละความเชื่อที่แตกต่างกัน
  2. ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวได้ท่องเที่ยวและพักผ่อนในสถานที่ใกล้เคียง เพื่อให้ใช้เวลานานขึ้นในพื้นที่
  3. ดึงดูดด้วยอาหารเลิศรสของแต่ละพื้นที่ เพื่อเติมเต็มประสบการณ์อาหารถิ่นที่หาที่ไหนไม่ได้
  4. ได้ซื้อสินค้าท้องถิ่นหรือ ช็อปปิงตามที่ใจปรารถนา ซึ่งเมื่อทำลูปครบทั้ง 4 ส่วนได้ครบสมบูรณ์จะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ขณะที่การท่องเที่ยวมูฯ ไม่ได้มีเพียงการแสวงบุญหรือการเยี่ยมชมวัดเท่านั้น แต่ยังมีสิ่งของและวัฒนธรรม ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบ คือ 

  1. มูเตลูที่เป็นสถานที่ คือ วัด โบสถ์ มัสยิด, ศาลเจ้าและเทวสถาน, รูปจำลองสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 
  2. มูเตลูที่ไม่ใช่สถานที่ คือ เครื่องรางของขลัง, พิธีกรรม 

     สะท้อนในเห็นว่า ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อของไทยมีความหลากหลาย และมีความผสมผสานวัฒนธรรมทางศาสนา เป็น soft power ที่สามารถดึงดูดการท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติได้ 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม 1

ข้อมูลเพิ่มเติม 2


ความคิดเห็น

สงวนลิขสิทธิ์ 2022 โดย กรมประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าชม : 21,252,737